การสอบสัมภาษณ์เพื่อเข้ารับข้าราชการไม่เหมือนกับเอกชนนะครับ เพราะขั้นตอนสอบเข้ารับราชการมีหลายขั้นตอน กว่าผู้เข้าสอบจะสอบผ่านมาถึงการสัมภาษณ์ ต้องผ่านสอบข้อเขียน ผ่านทดสอบความแข็งแกร่งของร่างกาย

คำถามเกิดขึ้นเสมอว่า การสอบสัมภาษณ์ต้องทำอย่างไร ทำอย่างไรถึงสอบผ่าน ความทรงจำเรื่องการสัมภาษณ์ของผู้เขียนค่อนข้างเลือนลาง เพราะ ขั้นตอนการสอบสัมภาษณ์มีหลายกระบวนการ

ตั้งแต่ช่วงเช้าถึงบ่าย ผู้เข้ารับการทดสอบ ต้องเข้ารับการตรวจร่างกายว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎเกณฑ์เข้ารับการบรรจุแต่งตั้ง

ข้อกำหนดกฎเกณฑ์ยาวเหยียด…

เพื่อความแน่ใจ ควรให้แพทย์ผู้ชำนาญเป็นผู้วินิจฉัย อย่าตัดสินตนเองว่ามีคุณสมบัติไม่ครบ แล้วไม่เข้ารับการสอบสัมภาษณ์

การสอบสัมภาษณ์ทุกครั้ง จะมีทีมแพทย์จากโรงพยาบาลตำรวจเป็นผู้ทำการตรวจร่างกาย หลักเกณฑ์การตรวจมีมาก เริ่มตั้งแต่การเก็บตัวอย่างเลือด การตรวจหู ตรวจวัดสายตา

เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจร่างกายจะเป็นการสอบสัมภาษณ์เพื่อดูบุคลิกภาพ ท่วงที ท่าทาง การเปล่งเสียง เหมาะกับการเป็นตำรวจหรือไม่

จากนั้นเก็บลายพิมพ์นิ้วมือเพื่อตรวจสอบ ประวัติการกระทำความผิดทางอาญา ซึ่งตรวจสอบโดย ทว. หรือทะเบียนปนะวัติอาชญากรรม

ปัญหาที่หลายคนมักถามถึง
๑.การตรวจวัดสายตาทำอย่างไร
คำตอบ – การตรวจวัดสายตากระทำโดยละเอียด เจ้าหน้าที่ตรวจวัดสายตาแบบเสตลเลน (ปกติ6/6) การวัดสายตาเจ้าหน้าที่จะให้ผู้เข้าสอบยืนห่างจากชาร์ต 6 เมตร

สเนลเลนชาร์ต (Snellen’s chart) เป็นแผ่นวัดสายตาบุคคลทั่วไปซึ่งใช้กันตามโรงพยาบาล คลินิก และส่วนราชการ ลักษณะสเนลเลนชาร์ตจะเป็นแผ่นกระดานสีขาวมีตัวอักษรหรือตัวเลขเรียงกัน เวลาทดสอบเจ้าหน้าที่จะให้ปิดตาข้างหนึ่ง แล้วถามถึงตัวเลขซึ่งปรากฏบนสเนลชาร์ต

๒.สายตาสั้นเป็นตำรวจได้หรือไม่
คำตอบ – แล้วแต่กฎเกณฑ์สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นผู้กำหนด ผู้มีคุณสมบัติเข้ารับการบรรจุแต่งตั้งต้องมีสายตามองเห็นชัดเจน แต่อนุโลมกฎเกณฑ์ให้สวมแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์เข้ารับการทดสอบได้

๓ การตรวจสอบตาบอดสีทำอย่างไร
คำตอบ – การตรวจสอบตาบอดสีของทีมแพทย์มีมาตรฐาน เจ้าหน้าที่จะมีแบบทดสอบเป็นแผ่นกระดาษมีจุดวงกรมจุดสี

การทดสอบตาบอดสีเป็นวิธีของ Prof.Dr.Shinobu Ishihara แบบทดสอบมีวงกลมวงใหญ่และมีจุดสีเล็กซ่อนอยู่ หากผู้ทดสอบสามารถอ่านตัวเลขในวงกรมได้ชัดเจนถือว่าตาปกติ (ทดสอบตาบอดสี http://www.mmtc.ac.th/admission/blindtest.php)

๔ คนมีรอยสักสามารถเข้ารับการบรรจุแต่งตั้งได้หรือไม่
คำตอบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำหนดคุณสมบัติผู้เข้าสอบต้องไม่มีแผลเป็น ไฝ ปาน รอยสัก หูด หรือซิสต์ แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ สามารถลบรอยสักบนร่างกายของมนุษย์

เป็นดุลยพินิจของแพทย์ว่า รอยสักอันปรากฏบนตัวผู้เข้าสอบสามารถลบได้หรือไม่ หากสามารถลบออกได้ก็มีคุณสมบัติเข้ารับการบรรจุแต่งตั้ง ทั้งนี้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการแพทย์โรงพยาบาลตำรวจ คำวินิจฉัยถือเป็นที่สุด

ทุกครั้งหลังการสอบ เกือบทุกคนมักมีอาการหดหู่ไม่มั่นใจ เพราะร่างกายของทุกคนล้วนมีข้อบกพร่อง ทุกคนล้วนไม่มั่นใจว่า ตนเองจะสอบติด ข้อพึงสังเกตคือดูบัตรประจำตัวผู้เข้าสอบ หากบัตรยังไม่ถูกเจ้าหน้าที่ผู้ทำการทดสอบยึดเก็บไว้ นั่นเป็นสัญญาณดีที่บอกว่ามีโอกาสสอบติด