บนโลกความจริง ใครคนหนึ่งอาจกำลังตกเป็นเหยื่อ ถูกจับตาดูความเคลื่อนไหว เช่นกวางป่าที่ถูกจับตาโดยนายพราน ลูกค้าที่เดินจับจ่ายซื้อของกลางตลาดก็เช่นกัน กลุ่มมิจฉาชีพอาจกำลังจับจ้องมองเงินในกระเป๋าเพื่อประสงค์ต่อทรัพย์ บางครั้งมิจฉาชีพอาจลักทรัพย์ วิ่งราวทรัย์ ชิงทรัย์ ปล้นทรัพย์ หรือ ฉ้อโกง ตามลักษณะของการกระทำความผิดในประมวลกฏหมายอาญา ส่วนพยานหลักฐานก็ถูกรวบรวมตามระเบียบวีธี แต่ส่วนใหญ่ผู้ต้องหาจะถูกจับกุมหรือออกหมายจับ

เมื่อคืนก่อน ผมเพิ่งรับแจ้งจากคนใกล้ชิดว่ามีผู้ถูกหลอกลวงให้โอนเงิน เป็นหญิงนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ประเด็นน่าสนใจสำหรับผม คือวิธีการติดตามเหยื่อของผู้กระทำผิด เราพบว่าปัจจุบันผู้กระทำผิดสังเกตติดตามจับตาดูความเคลื่อนไหวดูการกระทำของเหยื่อทางสื่อโซเชียลอย่างละเอียด เช่นดูการโพสต์ข้อความรับซื้อสินค้า การคอมเม้นต์ซื้อขายสอบถามราคา หรือแม้แต่การกดไลค์ให้ความสนใจสินค้าของเหยื่อ หลังจากนั้นมิจฉาชีพจะส่งข้อความทาง Messenger เป็นสินค้าที่เหยื่อ กำลังสนใจ โน้มน้าวให้เหยื่อซื้อสินค้าด้วยการกำหนดราคาถูก มีโปรโมชั่นอันแนนเนียนจนเหยื่อหลงเชื่อโอนเงินให้

กลวิธีการหลอกลวงของกลุ่มมิจฉาชีพปัจจุบันแยบคายมากกว่าเดิม ย้อนกลับไปในช่วง 3-4 ปีก่อน มิจฉาชีพสร้าจ Facebook Page สร้างความน่าเชื่อถือ สร้างความสนใจในตัวสินค้าหรือธุรกิจให้ร่วมลงทุน หากเหยื่อสนใจก็จะติดต่อในห้องสนทนา (Chat Room) หรือหมายเลขโทรศัพท์ หลังจากนั้นจึงส่งสินค้าโดยมิจฉาชีพจะส่งสลิปและพัสดุให้กับเหยื่อแล้วจึงจะมีการโอนเงิน กระบวนการเหล่านี้ก่อให้เกิดร่องรอยซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถติดตามบุคคล เก็บพยานหลักฐานดำเนินคดี จนสามารถจับผู้ต้องหาหรือออกหมายจับ

แต่ปัจจุบันต้องยอมรับว่า กลุ่มมิจฉาชีพมีความรู้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น ซึ่งแม้ว่า การกระทำของกลุ่มมิจฉาชีพจะครบองค์ประกอบความผิดฐาน “ฉ้อโกง” ตามมาตรา 341 ประมวลกฎหมายอาญาและเป็นความผิดตามมาตรา 14 (1) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560  แต่กระบวนการติดตามและรวบรวมพยานหลักฐานกลับยากขึ้น เพราะร่องรอยของการกระทำผิดของกลุ่มมิจฉาชีพมีน้อยลง Facebook ถูกปลอมขึ้นทั้งหมด ส่วนบัญชีธนาคารปลายทางผู้รับเงินเป็นบัญชีธนาคารของบุคคลอื่นมีการเปลี่ยนบัญชีไปเรื่อยๆ การกระทำผิดของมิจฉาชีพที่เคยกระทำผิดเพียงคนเดียวก็มีลักษณะเป็นกลุ่มแก๊ง ส่วนกลุ่มผู้ติดตามคนโกงส่วนหนึ่งก็เป็นมิจฉาชีพที่แฝงตัวหาข้อมูล

ฉะนั้นแล้วเราจะมองเห็นว่า มิจฉาชีพแฝงอยู่ในกลุ่มคนทุกสาขาวิชาชีพ พวกเราทุกคนมีโอกาสถูกหลอกลวง ถูกฉ้อโกง หรือตกเป็นเหยื่อการกระทำผิด คนบนโลกออนไลน์ที่ซื้อขายสินค้าทุกวงการเกือบร้อยละ 50 ถูกหลอกลวงอย่างเป็นทางการ สูญเสียเงินพร้อมกับความรู้สึกเสียใจอย่างมหาศาล ข้อคิดสำคัญสำหรับนักซ๊อปออนไลน์คืออย่าเลือกซื้อสินค้าเพราะราคาถูก วลีที่ว่า “ของถูกไม่ดีของฟรีไม่มีในโลก” ยังเเตือนใจคนออนไลน์ได้เป็นอย่างดี

Jeffrey ตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดรูปภาพ http://exif.regex.info/exif.cgi

GOOGLE PICTURE ตรวจสอบภาพถ่ายว่ามีการสำเนามาจากแหล่งใดในอินเทอร์เน็ต images.google.com

Kaidee ตรวจสอบบัญชีธนาคารที่มีความเสี่ยงในการหลอกลวง เป็นบัญชีธนาคารที่ใช้ในการรับโอนเงินของเครือข่ายหลอกขายสินค้าหรือฉ้อโกง https://news.kaidee.com/fraud-detection/