สมศักดิ์ เจียรสมบูรณ์  กรรมการผู้จัดการบริษัท สุขทุกคำ จำกัด ในอดีต เขาทำงานบริษัทเอกชน ทำหน้าที่เกี่ยวกับศูนย์กระจายสินค้า เขาเริ่มธุรกิจเกษตรอินทรีย์โดยสมัครเป็นสมาชิกตะกร้าปันผักอินทรีย์ รับผักผลไม้อินทรีย์ที่จัดส่งให้ถึงบ้าน จำนวน 1 ตะกร้าต่อสัปดาห์ หลังจากนั้นเขาถือหุ้นบริษัทและตัดสินใจซื้อกิจการเพื่อบริหารธุรกิจในนาม บริษัทสุขทุกคำ จำกัด เขากำหนดตำแหน่งทางธุรกิจ (Positioning) ให้บริษัทสุขทุกคำ จำกัด เป็น Supply Chain อยู่ในกระบวนการจัดการ เริ่มตั้งแต่การผลิต การขนส่ง การจัดจำหน่าย สินค้าเกษตรอินทรีย์ ด้วยเว็บไซต์ https://www.healthmedelivery.com

จากสมาชิกตะกร้าปันผักอินทรีย์สู่ตำแหน่งผู้บริหาร

ผมเห็นความสำคัญของสุขภาพ ผมชอบเลือกสินค้าที่มีประโยชน์มารับประทาน ผมต้องการให้ครอบครัวรับประทานอาหารที่ปลอดภัย ต่อมาเมื่อคนไทยเห็นความสำคัญของสุขภาพ ผมค้นหาสินค้าเกษตรอินทรีย์ จนพบกับ “ตะกร้าปันผัก” ของร้าน HealthMe ซึ่งจัดจำหน่ายผักผลไม้อินทรีย์ ผมตัดสินใจสมัครเป็นสมาชิก รับผักผลไม้และวัตถุดิบประกอบอาหารที่จัดส่งถึงบ้าน

สินค้าเกษตรอินทรีย์ได้รับความนิยมมากขึ้น ขณะนั้น ผมเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ทำหน้าที่เกี่ยวกับศูนย์กระจายสินค้า ผมมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ ผมตัดสินใจเข้าถือหุ้นธุรกิจ HealthMe ต่อมาในวันที่14 กุมภาพันธ์ 2562 ผมจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท สุขทุกคำ จำกัด หลังจากนั้นซื้อกิจการ HealthMe เพื่อบริหารธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ ธุรกิจของบริษัทสุขทุกคำ จำกัด คือ การจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ทางเว็บไซต์ https://www.healthmedelivery.com เช่น ผักผลไม้ เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว อาหารทะเล ไข่ไก่ ไข่เป็ด และสินค้าเกษตรอินทรีย์อื่นๆ นอกจากนั้น เรายังผลิตและจำหน่ายอาหารพร้อมปรุงพร้อมทานจากวัตถุดิบเกษตรอินทรีย์ รวมถึงบริการรับจัดงานเลี้ยงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เราใช้วัสดุจากธรรมชาติเป็นหลัก เช่น ใบตองเป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร เช่น ขนมไทย, ข้าวเหนียวหมู, ข้าวห่อ

เมื่อผมเริ่มบริหารธุรกิจ บริษัท สุขทุกคำ จำกัด ผมเริ่มค้นหาพื้นที่สำหรับทำการเกษตรของตนเองเพื่อปลูกผักผลไม้อินทรีย์ ผมตกลงเลือกทำไร่เกษตรอินทรีย์ที่ “ไร่สุขทุกคำ” บริเวณอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ประเทศไทย ด้วยความร่วมมือสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนพะเยา (SDGsPGS) องค์กรสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรอินทรีย์ ผมสามารถปลูกผักผลไม้อินทรีย์ได้จำนวน 1 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมดจำนวน 60 ไร่ ผมสร้างแบรนด์ “สุขทุกคำ” สร้างการรับรู้ว่า “สุขทุกคำ” มีสินค้าประเภทอาหารผักผลไม้ที่รับประทานแล้วสุขภาพดี ได้รับการรับรองเกษตรอินทรีย์จากสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนพะเยา (SDGsPGS) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2565 ทำให้ผมมั่นใจในแบรนด์และการรับรู้ว่า สุขทุกคำ มีสินค้าประเภทอาหารที่กินแล้วสุขภาพดี

อุปสรรคของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ประเทศไทย

ปัญหาสำคัญของธุรกิจคือ สินค้าเกษตรอินทรีย์มีอายุสั้น (Shelf life) เก็บรักษาสินค้าไว้ได้ไม่นาน เราต้องบริหารจัดการคลังสินค้าให้ดี เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค ต้องมีสินค้าตามจำนวนที่ลูกค้าต้องการและสามารถจัดส่งสินค้าอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเกิดความเสียหายกับสินค้า เราต้องยอมรับความเสียหายและนำข้อบกพร่องมาแก้ไข หลังซื้อกิจการและเข้าบริหารธุรกิจ จำนวนลูกค้าประจำเพิ่มมากขึ้น สินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค ผมต้องหาสินค้า เช่น บร็อคโคลี่ (Broccoli) และ พริกหยวก เพื่อนำมาจัดจำหน่ายให้กับลูกค้าประจำ

ผมพยายามตอบสนองความต้องการของลูกค้า พวกเขาไม่ต้องการความแปลกใหม่ เขาต้องการสินค้าที่พวกเขาเคยรับประทานเป็นประจำ แต่ต้องเป็นผักผลไม้อินทรีย์ สินค้าประเภทผลก็คือผลไม้ตามฤดูกาลแต่เป็นผลไม้อินทรีย์ มีการจองเป็นพรีออเดอร์ (Pre-Order) โดยลูกค้าสามารถสั่งจองและชำระเงินก่อนรับสินค้า ตัวอย่างสินค้า เช่น ลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย จากจังหวัดพะเยา ทุเรียนพวงมณี จากจังหวัดจันทบุรี เป็นต้น

หน้าที่สำคัญของผมคือ การค้นหาสินค้าและการตรวจสอบสินค้า ต้องบริหารจัดการสินค้า หากเกิดความเสียหายกับสินค้าเราจะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีใด เราต้องพิจารณาถึงผู้ผลิต การจัดส่ง การกระจายสินค้า สินค้าเสียหายเพราะสาเหตุใด สินค้าไม่มีคุณภาพ สินค้าเสียหายเพราะการบรรจุหีบห่อ หรือสินค้าเสียหายเพราะการขนส่ง ผมพยายามแก้ปัญหาและพยายามให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าทางเว็บไซต์ เพื่อบริหารจัดการจำนวนสินค้าในคลังได้อย่างรวดเร็ว เราจะให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าทางเว็บไซต์เพื่อให้เกิดความสะดวกและมีประสิทธิภาพ ทั้งการจัดการสินค้าให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค ความรวดเร็วในการจัดเตรียมสินค้า และความถูกต้องของการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า

ความร่วมมือระหว่างเกษตรกรกับบริษัทสุขทุกคำ

เกษตรกรที่สนใจจำหน่ายสินค้าผ่านเว็บไซต์ “สุขทุกคำ” ต้องมีสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตราฐานเกษตรอินทรีย์โดยสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนพะเยา (SDGsPGS) สินค้าต้องมีขนาดหรือสเป็คตามกำหนด ต้องมีการบรรจุหีบห่อให้ได้มาตรฐานเพื่อป้องกันสินค้าเสียหาย เกษตรกรต้องมีศักยภาพในการเพาะปลูกผักผลไม้ป้อนตลาดอย่างสม่ำเสมอ ปัญหาของเกษตรกรคือพวกเขามีสินค้าจำนวนจำกัด จำเป็นต้องรวบรวมสินค้าจากกลุ่มเกษตกรหลายกลุ่ม เพื่อจัดส่งมายังบริษัทซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ

สุขทุกคำมีแผนร่วมมือกับวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลแม่ใส จังหวัดพะเยา เพื่อใช้บริการรถยนต์ห้องเย็นขนส่งสินค้าให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยรถยนต์จะตระเวนรับผักผลไม้อินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียง แล้วเดินทางนำสินค้าสู่กรุงเทพฯ บทบาทสำคัญของผมคือการบริหารจัดการผักผลไม้ให้ถึงมือลูกค้า มีสินค้าเกษตรอินทรีย์ส่งถึงให้ลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ ผมแบ่งสินค้าออกเป็น 3 เภทคือ ประเภท 1.สินค้าหาง่ายแต่เป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า ประเภท 2.สินค้าหายากแต่เป็นที่ต้องการของตลาด เช่น แครอท หอมหัวใหญ่ บอกคอรี่ ประเภท 3. สินค้าขายดีคือ กระหล่ำปลี ผักกาดขาว

ผมมีแผนขยายธุรกิจ จำหน่ายผักผลไม้อินทรีย์ให้โรงเรียนและโรงพยาบาล เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ให้มีรายได้มากขึ้น ปัจจุบันผู้บริโภคเลือกรับประทานสินค้าเกษตรอินทรีย์มากขึ้น รักสุขภาพมากขึ้น เกิดปัญหาสุขภาพในวัยกลางคนมากขึ้น พวกเขารับสารพิษจากอาหารมากเกินไป ตอนนี้พวกเขาเลือกซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์แม้ราคาสินค้าจะสูงขึ้น ปัญหาสำคัญคือ เราจะค้นหาสินค้าคุณภาพให้เจอแล้วจัดส่งสินค้าให้กับผู้บริโภคอย่างไร

สำหรับการแข่งขันในตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ คู่แข่งคือผู้ที่ช่วยกระตุ้นตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้เติบโต คู่แข่งสำคัญ เช่น เลมอนฟาร์ม คิงออร์แกนิคเฟาร์ม บางครั้งเมื่อจัดกิจกรรมแสดงสินค้าเกษตรอินทรีย์ก็ทำให้ยอดขายของบริษัทลดลง แต่ “สุขทุกคำ” มีสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีมาตราฐาน มีใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มีฟาร์มที่สามารถปลูกผักผลไม้และสั่งสินค้าเกษตอินทรีย์จากจังหวัดพะเยา 200 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ เราวางแผนที่จะเติบโตไปพร้อมกับสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนพะเยา (SDGsPGS)

เรื่อง /ภาพ ร.ต.อ.ทรงวฒิ จันธิมา (กระจอกชัย)  เรียบเรียง  ผศ.น.สพ.สมชาติ ธนะ