10 ปีก่อน “คิ้วต่ำ” คือตัวการ์ตูนที่โลดแล่นอยู่บนโลกโซเชียล การเติบโตของ Facebook ทำให้ผู้คนรู้จัก “คิ้วต่ำ” มากขึ้น แฟนเพจ “คิ้วต่ำ” เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทั่งติดอันดับ 1 ใน 10 ของเพจ Facebook ที่มีผู้กดไลค์มากที่สุดของประเทศไทย นั่นทำให้ชีวิตของ อนุชิต คำน้อย ผู้สร้างเพจ “คิ้วต่ำ” เปลี่ยนจากพนักงานบริษัทให้กลายเป็น นักสื่อสารศิลปะ กลายเป็นคนมีชื่อเสียง กลายเป็นนักเขียน กลายเป็นผู้บรรยาย เป็นอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัย ในเวลาต่อมา

ค้นตัวตนคนทำงานศิลปะ

บ้านเกิดผมอยู่สุโขทัย อำเภอทุ่งเสลี่ยม เรียนอยู่โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชุนูปถัมภ์ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก็อยากเรียนศิลปะ ยุคสมัยนั้นมหาวิทยาลัยที่สอนศิลปะมีเรียนที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร แต่ผมสอบได้ที่ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าราชกระบัง คณะสถาปัตย์

ยุคสมัยก่อน ไม่มีโซเชียล ผมจึงเป็นเด็กที่ชอบอ่านหนังสือ พ่อแม่เป็นชาวนา ทำงานรับจ้าง ชอบอ่านหนังสือ ชอบอ่านหนังสือการ์ตูน “ขายหัวเราะ” นิตยสารคู่สร้างคู่สม มีเวลาว่างผมก็จะอ่านหนังสือ เมื่อเริ่มอ่านก็เริ่มเขียน เพราะผมอ่านหนังสือ  ตั้งแต่เด็ก ตอนเรียนมัธยมโรงเรียนทุ่งสเลี่ยมชุนูปถัมภ์ เมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ผมไม่สนใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แต่ก็ประคับประคองการเรียนไปเรื่อยๆ อาจารย์สังเกตเห็นว่า ผมถนัดศิลปะจึงแนะนำให้ผมเรียนศิลปะ ตั้งแต่นั้นจึงเริ่มทำงานศิลปะ งานวาด งานเขียน

ตอนแรกผมเป็นตัวแทนประกวด จัดบอร์ด พอเข้ามหาวิทยาลัย ก็เหมือนการรวมคนวาดรูปเก่งมาอยู่ด้วยกัน จากคนที่เคยวาดรูปสวยที่สุดในห้อง ผมก็พบว่ามีคนที่วาดรูปเก่งกว่าผม ตอนนั้นเริ่มจดบันทึก วาดรูปเล่นในสมุด ตอนนั้น มีช่วงที่วาดรูปเยอะสุดคือ ปี 4 ตอนช่วงใกล้จบ เริ่มมีการสเก็ต มีการจดบันทึก แต่ที่มหาวิทยาลัยมีคนวาดรูปสวยกว่าผม ผมก็เลยซ่อนภาพวาดไว้ในสมุดบันทึก วันหนึ่งมีพรรคพวกเปิดเล่น มองเห็นการ์ตูนที่ผมวาด หลังจากนั้นก็เรียนจบทำงานกราฟฟิก

ตอนนั้นจะเปิดเพจ Facebook แต่เริ่มต้นที่การประกวด นิตยสาร aday เริ่มมีการประกวด ถ้าใครชนะก็จะได้คอลัมนิสต์มีคอลัมของตนเอง 1 ปี รายได้เดือนละ 2 พัน ผมเป็นเด็กจากต่างจังหวัด เรียนจบใหม่ ไม่มีบ้าน เสียค่าใช้จ่ายเยอะมาก ผมก็อยากส่งประกวด แต่งานเขียนในช่วงมหาวิทยลัยเน้นเรื่องของความคิด งานกราฟฟิกมีน้อย ผลงานก็เลยมีไม่มาก เพื่อนก็แนะนำให้ส่งงานที่จดบันทึกในสมุด เพราะตลกดี ยุคนั้นการส่งประกวดต้องทำเป็นพอร์ตพอลีโอ้ ส่งอีเมลย์ จริงจัง ด้วยความที่ผมทำงานประจำ ก็เลยไม่มีเวลา แทนที่จะสมัครทางเว็บไซต์ ผมก็เอารูปที่ผมสมัครแข่งขันลงในเพจ Facebook แต่ปรากฏว่า เพจของผมกลายเป็นกระแส

วิธีคิดแบบคิ้วต่ำ ไม่มีกระบวนการในตอนแรก มันเป็นประสบการณ์ของเด็กที่ชอบอ่านหนังสือ เพราะยุคก่อนไม่มีสื่อโซเชียล เวลาจะต่อยอดทำอะไร ผมต้องใช้จินตนาการเป็นหลัก อ่านการ์ตูนอ่านนิยาย อ่านนิตยสารคู่สร้างคู่สม กระบวนการเป็นการจินตนาการ คิดภาพตาม ยุคสมัยนั้น ไม่มีอะไรแก้เบื่อในเวลาที่ต้องรออะไรบางอย่าง มันก็ทำให้ผมเป็นคนช่างสังเกต ผมไปส่งแม่ที่ร้านทำผม ผมก็จะนั่งดูนั่นนี่ ผมเป็นคนช่างสังเกต สิ่งที่พบเห็นก็กลายเป็นวัตถุดิบของผมอย่างไม่รู้ตัว สมัยก่อนไม่เคยจดเลย แต่การเป็นคนช่างสังเกต พอผมได้คิดคำหรือคิดรูป ตัวอย่างที่ผมเห็นตอนเด็กมันก็จะโผล่จะผุดขึ้นมา แต่ด้วยการที่ผมเป็นเด็กมหาวิทยาลัยมันจึงเป็นเรื่องของการออกแบบ ผมจะรู้ว่า เอาไอเดียออกมาเป็นรูปต้องสื่อสารอย่างไร วิธีการเอาไอเดียมาแปลเป็นรูปต้องทำอย่างไร ต้องสื่อสารอย่างไร

ถ้าเป็นมุมมองผม จะย่นย่อให้เด็กเข้าใจ อย่างแรก ยุคนี้เป็นยุคที่ทุกอย่างรวดเร็ว เขาเล่นมือถือ เขาจ้องไม่เกิน 2 วิ ถ้าไม่สนใจก็จะปัดผ่าน คือเราต้องฮุก หรือหยุดเพื่อให้เขาฟัง เอาเรื่องที่เขาสนใจมาปรับ เหมือนผมจะพูดถึงบทเรียนอะไรสักอย่างหนึ่ง ผมก็ยกตัวอย่าง นักร้องยุคผมมาเล่าเด็กก็จะไม่เข้าใจ แต่ถ้าเป็นนักร้องยุคเขา เขาก็จะเข้าใจ การใช้ศัพท์ การใช้รูปภาพที่อยู่ในเทรนด์ แล้วต้องเป็นแทรนด์ในช่วงนั้น เพราะเทรนด์มันมีมาก เทรนด์มหาวิทยาลัยอีกแบบหนึ่ง มัธยมอีกแบบหนึ่ง การใช้คำ ใช้เทรนด์ จะทำให้เด็กเกิดความอยากรู้มากขึ้น

การ์ตูนในยุคเปลี่ยนเทคโนโลยีสื่อสาร  

ยุคนั้น เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลง ผมเริ่มสังเกตเห็นว่า โฆษณาในมือถือมีจำนวนมาก มันเป็นยุคของการผลัดเปลี่ยน คิ้วต่ำจากที่เคยอ่านคำคม ก็กลายเป็นกระแสขึ้น ยุคแรก เมื่อเพจบูม มีคำโฆษณา Tie-in มีการโฆษณาสินค้า มีคนติดต่อให้วาดภาพ เขียนคำ เพื่อโปรโมทสินค้าออนไลน์ แต่ยุคแรกผมยังปฏิเสธ เพราะรู้สึกว่า ผมเป็นศิลปิน ไม่อยากเอาอะไรมาทำลายตัวตน เป็นช่วงหนึ่งที่ผมต่อต้าน อีกสักพักหนึ่งผมก็รู้สึกว่า มันเริ่มมีเพจมากขึ้น หลายคนเริ่มปรับวิธีการขายของ ช่วงแรกเป็นสินค้าทั่วไป โฆษณา Tie-in  ติด Hashtag ยุคต่อมาเริ่มมีงานเขียน เริ่มทำหนังสือ เป็นวิทยากร  เป็นอาจารย์พิเศษ

ตอนแรกที่ทำงานรายได้ยังมีไม่มากเพราะมีเพียงแฟนเพจ แต่เมื่อมีการจัดอันดับการกดไลค์  ตอนนั้น ยังไม่มีติ๊กตอก ผมก็ยังเป็นเพจที่มีคนกดไลค์  1 ใน 10 ผมเริ่มมีรายได้มากขึ้น ผมตัดสินใจลาออกจากงานประจำ ทำเพจคิ้วต่ำเป็นเวลา 10 กว่าปี ทำงานหนังสือ งานบรรยาย ก็มาออกแบบ ฯลฯ

หนังสือคิ้วต่ำ วงการเขียนหนังสือรู้จักว่าผมคือคิ้วต่ำ ผมทำหนังสือ 10 กว่าเล่ม ช่วงแรก ทำหนังสือออกมาจำนวนมาก ช่วงหลังวงการสื่อสิ่งพิมพ์ชะลอตัว ผมก็ลดการทำหนังสือลงมา ช่วงหนังสื่อเริ่มดีขึ้น หลังจากนั้น ผมก็เริ่มมีพอดแคสต์ (Podcast) มีรายการสัมภาษณ์ สุดท้ายแล้วเราก็ต้องปรับตัวตามยุค คือถ้าเขาไม่อ่านหนังสือ เราก็นั่งคุยให้เขาฟัง สำนักพิมพ์ นักเขียน นักวาด ก็มีการปรับตัวกับการตลาด เพื่อให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น สุดท้ายมันก็เป็นเพียง การปรับเลี่ยนแพลตฟอร์มและวิธีการเล่าเรื่อง  

งานบรรยาย ช่วงแรกผมไม่กล้าบรรยาย แต่ผมเป็นเด็กกิจกรรมการพูดไม่ใช่ปัญหา ปัญหาคือผมจะเอาความรู้อะไรไปบรรยายให้เขาฟัง ตอนนั้นก็ยังคิดจะพูดอะไรให้เขาฟัง และ เขาจะได้อะไรไปจากผมบ้าง เขาจะเสียเวลามานั่งฟังเขาทำไม ผมไม่ได้เรียนจบปริญญาโท หรือ เอก ผมรู้สึกว่าผมไม่ได้ยิ่งใหญ่มีเพียงยอดไลค์ Facebook เท่านั้นเอง เมื่อผ่านงานลูกค้าก็ชวนทำคอร์ดบรรยาย

หลักสูตรการบรรยายของผมสามารถช่วยคนได้ คนฟังสามารถเอาไปใช้งานได้จริง ผมเริ่มมั่นใจที่จะพูด ไปบรรยายตามสถานที่ต่างๆ บรรยายช่วงแรกเป็นเรื่อง แรงบันดาลใจ อยากให้คิ้วต่ำให้มุมมองแรงบันดาลใจต่างๆ แล้วผู้คนก็จะคิดว่า คิ้วต่ำเป็นคนแก่ เป็นนักปรัชญา เมื่อเปลี่ยนยุคก็จะเป็น Content หน่วยงานหรือลูกค้า เริ่มสนใจเรื่องกระบวนการคิดคืออะไร ทำอย่างไรให้สร้างสรรค์ คิดแคปชั่น  คิดคำ วาดรูปง่ายๆ ได้อย่างไร หัวข้อเริ่มสร้างสรรค์ หลายคนอยากเอากระบวนวิธีการคิดแบบนี้สร้างผลงานของตนเอง

“คิ้วต่ำ” ตัวการ์ตูนเปลี่ยนชีวิต

ช่วงที่เริ่มทำงาน ผมอายุ 22 ปี แสงส่องมาที่ผม มีชื่อเสียง ออกหนังสือ เกือบลืมตัว รู้สึกว่าเดินทางไปไหนก็มีแต่คนอวยพร ชื่นชม ผมเกือบเป็นคนนิสัยไม่ดี เกือบเป็นคนเรื่องมาก แต่ผมก็ปรับตัวทัน เริ่มมีผลงานอื่นๆ ผมไม่ใช่หนึ่งเดียวในโลกที่เขาจะชื่นชม เมื่อผมอายุมากขึ้น มีคนคาดหวังว่า คิ้วต่ำต้องเป็นคนที่มีความสุขตลอดเวลา ต้องให้คำคม มีมุมมองในชีวิต ทั้งที่ความจริงผมก็คือนักเขียน ผมก็คือนักทำงานที่หาเงินเพื่อเลี้ยงชีพ ความเครียดก็มี ปัญหาชีวิตก็มี ความสูญเสียก็มี ผมเอาคิ้วต่ำที่เป็นโลกสวยมาครอบงำผมซึ่งเป็นคนปกติ ซึ่งผมก็ต้องแบ่งส่วนชีวิต ถ้าผมอยู่กับเพื่อนผมไม่ใช่คิ้วต่ำ ผมไม่ได้เก่งกว่าใคร ไม่มีหน้าที่สอนใคร เมื่อเกิดสมดุล ผมก็สามารถอยู่กับคิ้วต่ำได้ ช่วงหลังผมอยู่ให้สนุก ความผิดหวังความทุกข์ก็มีเป็นปกติ ปัจจุบันผมต่อสู่กับ แพลตฟอร์ม (Platform) มีแพลตฟอร์มเกิดขึ้น ผมไม่ได้สู้แค่ติ๊กตอก แต่ผมก็ต้องทำ Content เรื่อยๆ

การหาแรงบันดาลใจในการทำงาน ผมสังเกตคน ผมชอบฟัง เป็นคนที่ไม่ชอบตัดสินใคร เมื่อผมไม่ตัดสินใคร ผู้คนก็มักจะเข้ามาเล่าเรื่องให้ผมฟัง ผมก็จะมองเห็นมุมมองของปัญหาของแต่ละคนมากยิ่งขึ้น แล้วผมก็รู้สึกว่า คนนี้ยิ้มอยู่ แต่ไม่รู้ว่าเบื้องหลังเขาอย่างไร คือผมอยู่กับเขาเพียงปัจจุบันขณะ ความทุกข์มันเกิดขึ้นตลอดชีวิต เพียงแค่ผมต้องมีพลังที่จะรับมือกับมัน ผมก็เลยสนิทกับความทุกข์ ผมต้องเปิดใจรับฟังคำปรึกษาจากคนอื่นๆ บางทีคนทีสอนผมอาจเป็นเด็กกว่าผมก็ได้

งานของผมเป็นงานคอมเมอร์เชียล คือการสื่อสาร ต้องพยายามปรับตัว ต้องวางแผนไว้ล่วงหน้าว่า ต้องการให้ชีวิตแบบไหน ชีวิตที่ดีของผมคือแบบไหน มีเงินพอช่วยเหลือพ่อแม่ยามเดือดร้อน เกี่ยวกับสุขภาพต้องช่วยเขาได้ ผมต้องปรับตัวยอมรับ บางครั้งผมล้มได้ตลอด เพราะก่อนหน้าโควิดชีวิตของผมดีมาก ลงตัวมาก มีคอนโด มีเงินเก็บ แต่พวกเราก็ล้มได้เหมือนกัน เราก็แค่วางแผนชีวิต ปรับตัวเข้ากับยุคสมัย ต้องมั่นใจก่อนว่า ผลงานศิลปะของเราต้องไม่ตาย ไม่ว่าจะเป็นงานวาด งานเขียน เหมือนคิ้วต่ำ ต้องปรับตัวได้ เราไปได้มากแค่ไหนในแพลตฟอร์ม ลองหาทางเลือกอื่นๆ ผมคาดหวังรายได้จากคิ้วต่ำอยู่ตลอดคงไม่ได้ ผมสามารถปรับเป็นนักออกแบบ นักคิดคำ ผมต้องเอาทักษะของผมไปต่อยอดหาเงิน ที่สำคัญ ต้องเรียนรู้ ต้องรักษา  (heal)  ให้เร็วที่สุด  บางทีปัญหามันเกิดเร็ว บางปัญหาช้าไม่ได้ ต้องออกมาต่อสู้ชี่วิตและไม่ดูถูกตนเอง เราต้องสนุกกับมัน เพราะเกิดชาติหน้าผมก็คงบอกไม่ได้แล้วว่า ผมคือคนทำเพจคิ้วต่ำ

คาเร็กเตอร์การ์ตูนสร้างอาชีพ

ความจริงคิ้วต่ำทำคนเดียว บางทีตารางหลุด ลืมคิว ลืมวัน คือคนเกิดมาแล้วไม่ต้องเก่งทุกอย่าง การมีผู้ช่วยจะทำให้งานของเราราบรื่น ทีมงานก็คือ พี่ น้อง เพื่อน ที่มาช่วยกันทำงาน ผมวาดลงกระดาษ แสกนภาพลงในคอมพิวเตอร์ ช่วงหลัง ผมปรับกระบวนการทำงาน เริ่มทำบล็อกเกอร์ ใช้ภาพจริง วาดการ์ตูนเข้าไป แต่สิ่งที่ยังทำไม่ได้คือภาพเคลื่อนไหว อาจด้วยงบประมาณน้อย สร้างผลงานเพียงคนเดียว ไม่มีทีมงานขนาดใหญ่ แต่ความจริงแล้วงานภาพเคลื่อนไหวเป็นงานที่ตลาดต้องการ ยุคนี้ นักเขียนการ์ตูน เป็นที่รู้จักมากขึ้นเพราะมีโซเชียลมีเดี่ย

ในแง่ของการดำรงชีพ ศิลปินสามารถนำคาเร็กเตอร์ไปทำอย่างอื่นได้ เช่น ทำตัวการ์ตูน อาร์ททอย ตัวการ์ตูนต่างๆ  สถามารถทำให้การ์ตูนกลายเป็นธุรกิจได้ หลายคนทำอาร์ททอยก็มีรายได้ มันอยู่ที่เราจะปรับตัวไปทางไหน ขายงานของเราไปในทิศทางไหน สามารทำเป็นอาชีพ หรืองานอดิเรก เหมือนวาดรูปแก้เบื่อแล้วเราก็ได้เงิน แต่การแข่งขันสูง อีกอย่างก็คือ เมืองไทยไม่ได้ให้คุณค่ากับผลงานศิลปะมากมายขนาดนั้น

สำหรับเป้าหมายในต่างประเทศ ผมไม่มีคนที่จะสนับสนุนให้ผมเป็นที่รู้จักถึงต่างประเทศได้ ช่วงหลังก็ออกบูทหนังสือในต่างประทศ คือวาดรูปทั้งปีเพื่อจัดงานในห้างสรรพสินค้า ในคาเฟ่ เพื่อขายงาน ผมรู้สึกว่าผมอยากทำ ตัวอย่างช่วงปีที่แล้วก็มีการจัดงานที่ไอคอนสยาม มีศิลปินหลายคนมาร่วมกัน ผมก็ได้ขายงานให้กับชาวต่างชาติ เขาก็บอกผมว่า ชอบตัวอ้วน ส่วนงานอื่นก็มีที่นิวยอร์ค น้องๆ พาไปแนะนำที่นิทรรศกาลในนิวยอร์ค ซึ่งถ้าทำจริงต้องจริงจัง แต่ตอนนั้นงานของผมคาบเกี่ยว อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ศิลปิน Artist คนสร้างเนื้อหา Creator

สำหรับผม เป็นนักสื่อสารศิลปะ (Commercial Art) สิ่งที่ทำให้ผมทำงานได้เป็นสิบกว่าปี คือความสม่ำเสมอ ทั้งเนื้อหา วิธีการต่างๆ คิ้วต่ำไม่ได้เป็นเพียงรูปวาด แต่เป็นเหมือนสังคมเล็กๆ การวาดภาพเมื่อผมขี้เกียจผมไม่ทำก็ได้ แต่เมื่อรู้ว่า มีคนรออ่านของผมอยู่ บางครั้งผมบรรยายตามสถานที่ต่างๆ ผมจะเจอแฟนเพจ เขาก็บอกว่า เขาเป็นมะเร็งระยะ 2-3 ขอบคุณที่ผมทำคำคมอะไรมาให้อ่านทุกเช้า บางคนเลิกกับแฟน มีปัญหาชีวิต เขาก็จะขอบคุณผม ซึ่งทำให้ผมรู้ว่า งานเขียนของผมไม่ใช่เพียงคอนเท็นที่ได้เพียงยอดไลค์ แต่มีผลกับความรู้สึกของคน ทำให้ผมรู้สึกว่า ต้องทำไปเรื่อยๆ ต่อให้ผมทำไปแล้วไม่ได้เงิน คิ้วต่ำก็ต้องรันไปเรื่อยๆ

กลุ่มเป้าหมาย ของผมส่วนใหญ่ค่อนข้างมีอายุ บางคนมีลูก มีครอบครัว หรืออยู่ในวัยเกษียณ บางทีผมบรรยายมหาวิทยาลัยนักศึกษาก็จะเข้ามาบอกว่า แม่หนูชอบพี่มาก เป็นเรื่องของผู้สูงวัย แพลตฟอร์มมันจะเคลื่อน ไออินสตราแกรม ติ๊กตอก ผมจะเห็นการขับเคลื่อน

ตอนแรกที่วาดคิ้วต่ำคือ หัวเถิก รูปที่วาดแรกๆ มีเป้าหมายเพื่อการส่งประกวด เป็นความคิดง่ายๆ บางทีมาจากความไม่ตั้งใจ ไม่ได้มีการวางแผนให้มีคนกดไลค์อะไรเลย รูปแรกๆ ก็ไม่ได้มีสไตล์แบบคิ้วต่ำแบบนี้ รูปแรกๆ เป็นเหมือนงานสเก็ตทั่วไป วาดขน วาดมือ วาดสัตว์ประหลาด ลงในสมุดแล้วใส่คำคมลงไป ให้เข้ากับรูปนั้น ความรู้สึกแรกดีมากๆ เพราะไม่มีความกดดันอะไรเลย ไม่มียอดไลค์ ไม่มีคนเห็น วาดผิดวาดถูกก็ได้ เป็นช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดตอนที่ไม่มีคนเห็นมัน หลังจากเข้าสู่กระบวนการที่ต้องรับงาน ต้องมีคนเห็น หากพูดแบบโลกสวนก็คือต้องรับผิดชอบต่อสังคม งานที่ผมทำส่งผลต่อคนอื่น คือบางทีผมเขียนคำหยาบหนึ่งคำ ผมอาจรู้สึกสนุก แสบ แต่มันเป็นการชักนำสังคม ผมก็เลยเลือกที่จะใช้คำเชยๆ เพ้อเจ้อ โลกสวย แต่ยังเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับหลายคน คอนเท็นต้องคิดมากขึ้น เพราะเป็นดาบสองคม ผมเคยเขียนถึงคนสูบบุหรี่ว่าไม่ดี แต่ก็มีคนมาคอมเม้นท์ว่า คนดูคิ้วต่ำหลายคนก็สูบบุหรี่  

อีก 5 ปี ผมอยากให้คิ้วต่ำสงบขึ้น ฉะนั้น มุมมองของคนอายุ 40 ปี ต้องมีประโยชน์ต่อคนที่อายุต่ำกว่า มันต้องเป็นอีกมิติหนึ่ง ผมรู้สึกว่า อีก 5 ปี คิ้วต่ำจะจับต้องได้มากขึ้น ต้องเป็นอีกมิติหนึ่งในตัวงาน มิติการเล่าเรื่องอาจจะลึกซึ้งขึ้น มีมุมมองมากขึ้น คิ้วต่ำในโลกโซเชียลมีเดีย อีก 5 ปี ก็ไม่รู้ว่า จะมีแพลตฟอร์มอะไรใหม่ อย่างในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ตี๊กตอกเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมมากในโซเชียล ผมก็ทำในติ๊กตอก แต่สุดท้ายคนดูเขาต้องการอะไรที่เคลื่อนไหว ตลก เอ็นเตอร์เท็น ซึ่งในช่วงหนึ่งผมพยายามฝืน ผมต้องเต้น ผมต้องทำ แต่ผมก็รู้สึกว่า ผมวิ่งตามจนลืมคาเร็กเตอร์หรือตัวตนผม ต้องดูว่ารูปแบบใหม่จะมาแบบไหน อีก 5 ปี ผมก็อยากจะสร้างคาเร็กเตอรืให้มากขึ้น ผมพยายามสร้างคาเร็กเตอร์ที่เป็นจักวาลขึ้นมา

อีก 5 ปี อยากเห็นคิ้วต่ำเป็นอย่างไร

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับงานศิลปะของเด็ก คือคนรอบข้าง ให้มูลค่ากับงานศิลปะแค่ไหน บางครั้ง หลายครั้งผมไปบรรยายตามมหาวิทยาลัย หรือสถาบันต่างๆ ผมจะพบว่าเด็กหลายคนฝีมือดีมาก พอถามว่า จบแล้วจะทำงานสายไหนต่อ ส่วนมากก็ยังไม่มั่นในฝีมือในผลงาน ผมได้แต่บอกว่า รูปหนึ่งคุณสามารถดันให้คุณขายรูปเป็นหมื่นเป็นแสนได้เลย อาจเป็นเรื่องมุมมองของคนรอบข้างที่จะต้องให้ความมั่นใจกับเขา แค่ทำให้เขารู้สึกว่างานเขามีค่าก็พอแค่ทำให้คนรู้สึกว่า เขาทำงานได้บ่อยๆ ผมเห็นคนทำงานศิลปะ มีทักษะ ทำหลายสิ่งได้ ต่อยอดได้

อินเทอร์เน็ตมีคำตอบ ลองค้นหาว่า ศิลปะทำอะไรได้บ้าง ไม่จำเป็นต้องเป็นอาร์ททอย แกะไม้ได้ ทำคาเร็กเตอร์เป็นไม้แล้วหาวิธีนำเสนอ หรือทำเป็นเสื้อผ้าได้หรือไม่ เป็นหมวก หรือเป็นสินค้าชนิดอื่นๆ คือคนทำงานศิลปะต้องค้นหาให้ได้ว่า ผลงานของเราพัฒนาเป็นแบบไหนได้บ้าง ซึ่งมีศิลปะเยอะมากทั่วโลก แต่เราจะไปเส้นทางไหนได้บ้าง เข้าออนไลน์วางเส้นทางไว้ สุดท้ายก็จะสะดุดตรงที่ถ้าไม่ถูกยอมรับก็จะถอย ถ้าเราสามารถข้ามจุดนั้น เราต้องดื้อ ดื้อที่จะพางานที่เราสร้างไปให้ได้ ต้องค้นหาครับ เราอยู่ไปยึดติดว่า ออกแบบศิลปะต้องทำแค่การ์ตูน วาดรูปต้องปริ้นขาย ต้องทำสติ๊กเกอร์ไลน์

สำหรับผม ครอบครัวไม่เข้าใจ ไม่รู้จักคิ้วต่ำ ช่วงแรกเที่เลือกเรียนศิลปะ พ่อบอกว่า ไปทำงานข้าราชการก่อนได้มั้ย ทำงานออฟฟิช มีเงินเดือนสูงๆ พ่อกลัวลูกลำบากเป็นศิลปินยากจน หรือตอนเรียนมหาวิทยาลัย ตายายถามว่าเรียนอะไร ผมบอกว่าออกแบบ ออกแบบเสื้อ สบู่ คือสิ่งที่ผมเรียนอยู่ พ่อผมเคยสอนว่า เลือกสิ่งที่ผมอยากเรียน เพราะวันหนึ่งเมื่อไม่ประสบความสำเร็จ จะได้ไม่ต้องโทษใคร หลังจากนั้น เราก็จะสนุกกับการเลือกของตนเอง คือเราต้องยอมรับว่า บางครั้งเราต้องต่อสู้กับสิ่งที่ไม่ถูกยอมรับ เราต้องยอมรับว่า เราเปลี่ยนความคิดผู้คนไม่ได้ เขาเข้าใจได้เท่าที่เขาจะเข้าใจ ตอนนั้น ผมฆษณา Tie-in สินค้าเข้าได้เงินมาจำนวนมาก ซื้อตู้เย็น ทีวี ซื้อทองคำ ยายก็สงสัยว่า หลานชายไปทำอะไรไม่ดีมาหรือเปล่า ผมก็บอกผมเป็นดารา ออกทีวี

บางครั้งผมเดินทางไปนำเสนอตัวการ์ตูน ก็มีคนถาม มีคนบั่นทอนกำลังใจ คิ้วต่ำคืออะไร ไม่สวย ช่วงแรกก็น้อยใจที่ไม่มีใครรู้จัก ถูกเขี่ยทิ้ง ไม่ถูกเลือก ความจริงแล้ว ทุกคนไม่ต้องอินทุกอย่างบนโลก ทุกคนบนโลกไม่ต้องรู้จัก ไม่ต้องรัก ไม่ต้องชื่นชมเรา เราแค่ดูว่า ถ้าเส้นทางนั้นเป็นการตัดสินเราเพื่อทำให้เราพัฒนาตัวเอง เราก็พัฒนา ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการทำงาน

ตอนเด็ก ผมก็อยากเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับโลก แต่ถ้าเป็นตอนนี้ อายุ  35 ปี ตอนนี้ อาจเป็นช่วงชีวิตที่ต้องการความสงบในชีวิต ไม่ถึงขั้นออกบวช ผมไม่ได้ตั้งเป้าอะไรยิ่งใหญ่ ตั้งเป้าหมายใกล้ๆ เช่น ทำขวดน้ำ พอมาถึงจุดหนึ่งของชีวิต การมีบางอย่าง มันเป็นทุกข์ ผมมีทุกอย่าง แต่ผมก็มีหนี้สินที่เป็นทุกข์ หรือ กระทั่งข้าวของที่สะสมไว้ในห้อง เมื่อผมสูญเสียคนในครอบครัวของผม ก็มีคนมาเก็บของในห้อง ผมมองเห็นสัจธรรม ริ่มปล่อยวางหลายอย่างเยอะขึ้น ชีวิตเริ่มธรรมดามากขึ้น