คำถามสุดคลาสสิกที่นักดนตรีอิมโพรไวส์มักจะเจอคือ “ตอนที่คุณเล่น คุณคิดอะไรอยู่ ลองมาดูกันสิว่า อะไรที่เราไม่ควรคิด (หรือพยายามอย่างหนักไม่ให้มันโผล่มาในหัว) ตอนเล่นหรือแสดง

ไฮบริด ปิกกิ้ง หรือ อัลเทอเนทปิกกิ้ง ดีน้า
ดีดลง – ขึ้น หรือ – ลง – ขึ้น … ดีนะ ( คิดยังกับตารางฟิตเนส 55 )

โอเค คอร์ดคือ Em7 โหมด Phrygian นี่ใช่เลยกับ E minor 7 เราจะเล่น E Phrygian ในตำแหน่ง 9 โดยเริ่มที่สาย G แล้วก็โดดข้ามไปสาย B แล้วจบด้วยสาย E
เล่น Outside หรือ Inside ดีนะ

ไลน์ ii-V-I โครมาติกที่ผมเล่นพลาดประจำ หรือมั่วไปแล้ว แล้วบอกว่า FreeJazz ก็ได้

การเล่นดนตรีในตอนนั้น ไม่ใช่เวลามานั่งแก้ปริศนาหรือคิดเรื่องพวกนี้ ถ้าคุณทำแบบนั้น คุณจะตามดนตรีรอบข้างไม่ทัน และกลายเป็นนักดนตรีที่วิ่งตามปัญหา แทนที่จะก้าวนำหน้ามัน แน่นอนว่าการตอบสนองต่อคนอื่นเป็นเรื่องสำคัญ แต่มันจะดีแค่ไหนถ้าคุณเป็นคนที่ จุดประกาย แนวคิดใหม่ๆ ให้กับดนตรี และสร้างเอกลักษณ์ของคุณเข้าไป

แน่นอนว่างานเทคนิคมันมีอยู่จริง แต่ที่สำคัญ เราควรจะเก็บมันไว้ตอนซ้อม เพราะเมื่อคุณอยู่บนเวที สิ่งที่ต้องโฟกัสคือ:
– การไหลลื่นแบบที่สายน้ำยังอิจฉา 555
– ยิ้ม (จุดอ่อนผม555)
– ฟุ้งซ่าน กลัว ตื่น ลองหายใจลึกๆ
– ไอเดียใหม่ๆ ที่ควรไม่สะดุด
– เชื่อมต่อกับเพื่อนร่วมวงแบบที่เล่นแล้วรู้ใจ ยิ้ม หัวเราะ ให้กันเมื่อเล่นผิดหรือโดนมาก
– และแน่นอน การเชื่อมต่อกับคนฟัง ไม่งั้นเขาจะจ้องมือถือแล้วไถติ๊กต๊อกแทน

และบางที การเล่นของคุณอาจจะหลุดคีย์บ้าง สับสนเรื่องนิ้วบ้าง ไม่ตามแผนการดีดที่เคยซ้อมมา แต่ไม่เป็นไร ไปให้สุด นั่นแหละดีครับ บางคนบอกว่า ไม่ต้องคิดอะไรตอนเล่นเลย ฟังดูง่ายเนอะ แต่มันต้องฝึกกันเยอะพอตัว

ถ้าคุณยังเลิกคิดไม่ได้ ลองนี่ดู
เลือกคำศัพท์หนึ่งคำ แล้วพยายามอธิบายมันผ่านดนตรี ไม่ต้องใช้คำแบบ Messiaen mode 3 หรือ pentatonic sub ลองเอาคำแบบ ทะเล ขรุขระมาก แข็งเป็นหิน สวยมาก โคตรหล่อ

เล่นแนวตรงข้ามกัน สลับอารมณ์ไปมา สี่บาร์สดใส สี่บาร์เศร้า ทำละครดนตรีฉากเล็กๆ ของคุณเอง
ลองตั้งข้อจำกัดให้ตัวเอง เช่น เล่นคู่ 3 กับคู่ 7 ทั้งคอรัสในอ็อกเทฟเดียว หรือเล่นเริ่มเฟรต 12 เป็นต้นไป หรือจะฮาร์ดคอร์หน่อยกด 13 ทุกคอร์ดไปเลย

เล่นเกมพวกนี้ จะช่วยให้คุณมีเป้าหมายที่แปลกใหม่ แต่ไม่ต้องไปกังวลกับการเล่น “สเกลที่ถูกต้อง” หรืออาร์เพจจิโอที่เป๊ะๆ ลองนึกดูสิว่า คนที่ไม่ใช่นักดนตรีเขาฟังดนตรียังไง Lydian เจ๋งๆ อาจจะฟังเหมือนเสียงแมลงวันสำหรับคนทั่วไป เขาสนใจแค่ว่าเพลงมันทำให้เขารู้สึกยังไง บรรยากาศมันพาเขาไปทางไหน

ดังนั้น จำไว้ว่าดนตรีมันไม่ใช่แค่โน้ต หรือท่อนที่ซับซ้อน แต่คือการเล่าเรื่อง คุณสามารถกลับมาที่โหมดนักวิเคราะห์ทางดนตรีได้เสมอ แต่เอาเข้าจริงๆ ถ้าคุณรู้มันแล้ว มันก็ไม่หายไปไหนหรอก มันอยู่กับคุณตลอดนั่นแหละ

สรุปดังนั้นในช่วงเวลาที่เราควรเอาใจใส่ที่สุดคือการเริ่มต้นซ้อมควรเอาใจใส่ เก็บรายละเอียดของเพลงทุกด้านไม่ว่าจะด้านโครงสร้าง เทคนิด และจังหวะ ให้ครบถ้วน เพื่อเวลาเล่นเราจะรู้สึกสนุกและ เอ็นจอยเดอะโมเมนต์ อาเมน

คอลัมนิสต์ Golf T-bone