Thailand : ประเทศไทยเมื่อ 20 ปีก่อน เกษตรกรใช้สารเคมีเพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรจำนวนมาก เรียกกว่า “อุตสาหกรรมการเกษตร” ก็ไม่ผิด ยกตัวอย่างเช่น กระหล่ำ พื้นที่การเพาะปลูกกระหล่ำปลีสมัยก่อนคือพื้นที่สูง พื้นที่บนภูเขา หากปลูกพื้นที่ราบลุ่มกระหล่ำปลีจะไม่มีลักษณะเป็นหัวกระหล่ำ เกษตรกรบนบนภูเขาปลูกกระหล่ำปลีจำนวนมากเพื่อขายส่งให้กับตลาดพ่อค้าในเมือง พ่อค้าจะรับซื้อกระหล่ำปีหัวใหญ่น้ำหนักมากเพื่อขายต่อให้กับร้านอาหารทั่วประเทศไทย ส่วนกระหล่ำปลีหัวเล็กน้ำหนักน้อยพ่อค้าจะรับซื้อในราคาถูก ทางออกขอการเกษตรยุคสมัยนั้นคือ การใช้สารเคมี พ่อค้าคนกลางนอกจากจะมีกำไรจากการรับซื้อกระหล่ำปี พวกเขายังมีกำไรจากการขายสารคมี ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง หรือมีส่วนแบ่งกำไรจากพ่อค้าขายสารเคมี

ต้องยอมรับว่า สารเคมีทางการเกษตรใช้ได้ผลเป็นอย่างยิ่ง คนใช้สารเคมีประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการเพาะปลูก อุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด ตั้งแต่ พ.ศ.2540 เคมีการเกษตรมียอดขายสูงขึ้น เกษตรกรใช้สารเคมีอย่างจริงจัง แต่ผลกระทบที่ติดตามมา คือ ธรรมชาติ ระบบนิเวศน์ถูกทำลาย สารพิษเข้าสู่ร่างการเกษตรกรโดยตรงขณะพ่นสารเคมี ผู้บริโภครับสารพิษตกค้างในพืชผักจากการรับประทานอาหาร แม้พวกเขาจะระมัดระวังตัวเพียงใด มีการรณรงค์ให้เกษตรเลิกใช้สารเคมีมากเพียงใด

สาเหตุแท้จริงของการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตร มิได้เกิดจากค่านิยมหรือการรณรงค์ให้รักสุขภาพ แต่เกิดจากกลไกทางการตลาด ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ เกษตรกรที่เคยใช้สารเคมีขาดทุนเพราะพวกเขาต้องซื้อสารเคมีในราคาแพงเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตร ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่วนผู้บริโภคต้องหาซื้อพืชผักออร์กานิคราคาแพง เมื่อไม่มีสินค้าออร์กานิค ผู้บริโภคก็ต้องซื้อพืชผักทั่วไปและซื้อน้ำยาล้างผักผลไม้ในราคาแพง กลุุ่มผู้บริโภคจึงเสนอทางเลือกที่จะรับซื้อพืชผลทางการเกษตรปลอดสารพิษในราคาสูง ตลาดสินค้าปลอดสารพิษ ตลาดสินค้าปลอดภัย ตลาดสินค้าออร์การ์นิค เริ่มเติบโตอย่างเป็นรูปธรรม

การซื้อสินค้าออร์การ์นิคหรือสินค้าปลอดภัย จึงเป็นการปลี่ยนผู้ควบคุมการตลาดจากพ่อค้าคนกลางและคนขายสารเคมี อำนาจทางการตลาดส่วนหนึ่งตกมาอยู่ในมือของผู้บริโภค ยุคสมัยก่อนการหาสินค้าออร์กานิคไม่ง่าย แต่ในปัจจุบันคุณสามารถเลือกที่จะรับประทานผักผลไม้ปลอดสารพิษหรือสินค้าออร์กานิคได้ง่ายเพียงเดินเข้าตลาดสินค้าบางแห่ง ผู้ค้าหลายรายมีใบรับรองสินค้าออร์กานิคหรือสินค้าปลอดภัย แต่ก็มีเกษตรกรจำนวนมากที่ไม่มีใบรับรองแต่พวกเขาทำการเกษตรแบบดั้งเดิม เกษตรแบบดั้งเดิม ก็คือการทำสวนผักไว้รับประทานเอง ส่วนใหญ่เป็นการทำสวนครัว หรือสวนเกษตรหลังบ้าน คุณลองสังเกต บริเวณหลังบ้านคนไทยจะมีส่วนครัวของตนเอง พวกเขาปลูกพืชผักเพื่อรับประทานเอง สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพราะเขากลัวสารเคมี แต่เป็นเพราะ การทำการเกษตรหลังบ้านหรือสวนครัวเป็นวัฒนธรรมที่ชาวไทยทำกันมานาน เป็นวิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่ดั้งเดิม

พวกเราเพิ่งเปลี่ยนวิถีเกษตรกรรมดั้งเดิมสู่การอุตสาหกรรมการเกษตรที่ใช้สารเคมีจำนวนมาก เมื่อ พ.ศ.2540 เป็นการตลาดสินค้าที่ถูกควบคุมโดยพ่อค้าคนกลาง พ่อค้าเป็นผู้กำหนดราคา เป็นผู้กำหนดคุณภาพสินค้า พ่อค้าคนกลางเป็นผู้ตัดสินว่าสินค้าดีหรือไม่ดี แต่วันนี้โลกเปลี่ยนไป ผู้บริโภคควบกุมกลไกทางการตลาดสินค้าเกษตรส่วนหนึ่ง กลุ่มผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าที่เขาต้องการ เขาสามารถเลือกรับประทานอาหารในร้านที่ใช้วัตถุดิบจากพืชผักออร์กานิค แต่สินค้าออร์กานิคมิได้หมายถึงสินค้าที่มีตรารับรองสินค้าออร์กานิคเพียงอย่างเดียว ผักผลไม้ออร์กานิคจำนวนมากอยู่ที่สวนเกษตรหลังบ้านของคนไทย ลองสอบถามคุณยายในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย พวกเขามีผักผลไม้ออร์กานิคที่ไม่มีตรารับรับรองอยู่หลังบ้าน พวกเขาพร้อมที่จะแบ่งปันหรือขายผักผลไม้ออร์กานิคในราคาถูกให้กับคุณ ผักผลไม้เหล่านี้คือผักผลไม้ออร์กานิคในวิถีเกษตรแบบดั้งเดิม

You can adjust to different languages. on the language switch button in the bottom right corner of the website