DONPHEEBIN คือวงดนตรีเฮฟวี่เมทัลยุคแรกของประเทศไทย ก่อตั้งโดยพี่น้องตระกูล “แก้วทิตย์” ประกอบด้วย สมบัติ แก้วทิตย์ มือกีตาร์ ,สมศักดิ์ แก้วทิตย์ มือกลอง ,สมคิด แก้วทิตย์ มือเบส กีตาร์ พวกคือวัยรุ่นที่รับอิทธิพลจากดนตรีเฮฟวี่เมทัล เช่น Iron Maiden , Metallica สร้างสรรค์ผลงานตามความฝันในห้องเช่าเล็กในตัวเมืองจังหวัดเชียงราย จังหวะอันเร่าร้อน หนักแน่นและเสียงอันดังก้องของดนตรีเฮฟวี่เมทัล ทำให้นักดนตรีหนุ่ม 3 พี่น้อง แจ้งเกิดในวงดนตรี เป็นวงดนตรีเมทัลวงแรกของประเทศไทย ประสบความสำเร็จจากการทำเพลงใต้ดิน (Under Ground)  สู่การทำงานกับค่ายเพลงอย่าง วอร์เนอร์มิวสิค และยีราฟเรคคอร์ด ได้รับรางวัลสีสันอะวอร์ดสาขาเพลงบรรเลงยอดเยี่ยม 2 ครั้ง

ย้อนเวลาหาดอนผีบิน

สมศักดิ์ แก้วทิตย์ มือกลอง เล่าว่า กระบวนการทำเพลงง่ายกว่า ยุคสมัยก่อน คนทำเพลงมีคอมพิวเตอร์หนึ่งตัวก็สามารถสร้างห้องบันทึกเสียงเป็นของตนเองได้ การทำงานดนตรียากมาก การบันทึกเสียง มีเพียงเครื่องมือบันทึกเสียง 4 แทร็ก กลอง กีตาร์ เบส เสียงร้อง ทำเป็นเพลงคร่าวๆ ถ้าทำเป็นเพลงโฟร์คซองก็จะง่าย มีเพียงกีตาร์ตัวเดียวก็สามารถทำเพลงได้แล้ว ยุคสมัยก่อน เราบันทึกเสียงจากเทปคาสเซ็ทแบบแยกแทร็ก เราใช้เทคนิคแยก 4 แทร็ก เป็น 8 แทร็ก เพื่อทำเพลงเดโม เวลาแต่งเพลง ทำดนตรี ก็เล่นให้กันนักดนตรีด้วยกันฟังแล้วบันทึกเสียง แต่งเพลงกันสดๆ สเก็ตความคิดคร่าวๆ

วงดนตรีดอนผีบิน มีเครื่องดรัมแมชชีน (Drum machine) ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำลองเสียงกลอง บันทึกเสียงกลอง เป็นรูปแบบ (Pattern) นั่นเป็นจุดเริ่มต้นการทำงานเพลงเดโมในยุคสมัยนั้น ผลงานเพลงที่สร้างสรรค์ทำให้เรารู้สึกว่า มันเป็นของเรา มันเป็นรูปเป็นร่าง ตอนนั้น เทคโนโลยีด้านการบันทึกเสียงสามารถปรับเครื่องมือบันทึกเสียงได้ พวกเราลาออกจากงานประจำ สมศักดิ์ แก้วทิตย์ นักร้องนำ ลาออกจากการรับราชการครู ผมลาออกจากพนักงานบริษัทเงินเดือน 40,000 – 50,000 บาท ส่วนน้องชายสมคิด แก้วทิตย์ เพิ่งเรียนจบ พวกเราคุยกันเรื่องการทำเพลง ทำงานเพลงอย่างจริงจัง ซื้อเครื่องดนตรี เครื่องมือทำเพลง ส่วนอิทธิเรื่องแนวดนตรีก็มาจากการฟังเพลงยุคสมัยที่เราเรียนมหาวิทยาลัย พวกเราตัดสินใจลาออกจากงานเพราะความชอบและความสุข คนอยากเป็นช่างก็เป็นช่าง อยากเป็นหมอก็เป็นหมอ อยากเป็นนักดนตรีก็เล่นดนตรี คนที่อยากดังมีชื่อเสียงก็พยายามทำเพลง เมื่อทำเพลงขายเทปได้จำนวนมากก็ได้เงิน

การทำเพลง Rhythm section กลองกับกีตาร์ เป็นตัวเลือกแรกที่จะเริ่มกัน โซโล่ เบส เขาจะเอาไว้ทีหลัง เขาจะคิด Riffs คิดโครง เราจะเอาแบบไหนต้องมาแจมกัน ทำเพลงกันแบบสดๆ อีกกลุ่มคือสิงห์สตูดิโอ (คนทำงานเพลงในห้องบันทึกเสียงตลอด) พอถึงเวลาจะเล่นก็ต้องซ้อมดนตรีเหมือนบทเพลงที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำบทเพลงขึ้น ดอนผีบินแต่งเพลงด้วยวิธีแจม ตัวอย่างเพลง “คนกินคน” อัดเสียงไว้ได้ก่อนผู้ให้เช่าห้องจะไล่พวกเราออกจากห้องเช่า พวกเราทำเพลงกระทั่งสามารถนำไปให้เพื่อนฟังได้ คุยกันได้เมื่อเจอนักดนตรีเหมือนกัน เรามีความเป็นตนเอง มีบทเพลงจำนวน 12 เพลง เราบันทึกเสียงทำเป็นเพลงใต้ดินเพื่อจำหน่าย ตอนนั้น เราก็มีความคิดจะนำเสนอผลงานเพลงให้กับค่ายเพลง แต่ก็รู้ว่าคงไม่มีค่ายเพลงใดรับเข้าค่าย เพราะเพลงส่วนใหญ่ของดอนผีบินเป็นดนตรีแนว Metal ดนตรีหนัก ยุคสมัยนั้น บริษัทผู้ผลิตดนตีมี 2 ค่าย คือ แกรมมี่ กับ อาร์เอส ซึ่งทำเพลงโดยมีพื้นฐานด้านการตลาด แต่โชคดีในช่วงหลัง ค่ายเพลงขนาดเล็กเกิดขึ้น อาจเป็นเพราะกระแสการทำเพลงของต่างประเทศ ศิลปินเริ่มทำเพลงใต้ดิน เมื่อมีผลงานแล้วจึงนำผลงานเสนอค่ายเพลง 

สมัยก่อน เครื่องบันทึกเสียงราคา 30,000 บาท เงินเดือนพนักงานราชการระดับปริญญาตรี 6,000 – 7,000 บาท ปัจจุบัน การทำเพลงใช้เพียงเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวเดียวสามารถบันทึกเสียงได้เลย อยู่ที่คอมพิวเตอร์ อยู่ที่การใช้ซอฟแวร์ คนทำเพลงสามารถทำเพลงบันทึกเสียงจำหน่ายได้เลย แต่กระบวนการทำเพลงเหมือนเดิม ทุกคนต้องสร้างสรรค์จากตนเอง สร้างสิ่งใหม่ เรื่องมิกซ์เสียงสามารถทำได้ที่บ้าน หาคนที่มีความชำนาญช่วยมิกซ์เสียง แต่หลังจากกระบวนการทำเพลง ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใด หลังจากนั้น เราสามารถนำเสนอผลงานเพลงลงโซเชียลหรือยูทูป แต่เราต้องดูกระแสของสื่อ เพราะสื่อมีกลไกหรือกระบวนการเหมือนกัน ยุคสมัยก่อนไม่มีสื่อเหมือนปัจจุบัน หากทำเพลงเสร็จไม่สามารถเผยแพร่ผลงานได้ ค่ายเพลงซื้อเวลาในรายการวิทยุ ซื้อดีเจ ซื้อเวลา เพราะดนตรีคือธุรกิจคือการค้า คนจะออกทำอัลบั้ม ออกเทป ต้องสังกัดค่ายเพลง ถ้าไม่สังกัดค่ายเพลงก็ออกเทปไม่ได้ ส่วนวงดนตีใต้ดินที่นำผลงานเพลงเสนอค่ายแล้วเขาไม่เอา ก็เพราะค่ายเพลงมองว่าไม่สามารถขายทำกำไรได้

การตลาดของคนทำเพลงยุค Drum machine

พ.ศ.2536 ตอนนั้นดอนผีบินออกเทปชุดแรก เปรียบเทียบ คนฟังเพลง 100 คน ฟังเพลงต่างประเทศ 20-30 คน นอกจากนั้นฟังเพลงไทย คนฟังเพลงต่างประเทศต้องฟังจากเทปคาสเซ็ท ไม่มีรายการวิทยุหรือไม่มีรายการทีวีที่นำเสนอเพลงต่างประเทศ มีเพียงเทปคาสเซ็ทละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นสื่อเดียวที่นักฟังเพลงต่างประเทศจะพบเจอได้ สำหรับแฟนเพลงดอนผีบินมีก็มีอยู่จำนวนหนึ่ง ตัวอย่าง วงหินเหล็กไฟทำอัลบั้ม จำหน่ายเทปคาสเซ็ทได้ 1 ล้านตลับ ธุรกิจดนตรีขยายตัว แต่ไม่ได้หมายว่าคนฟังเพลงร็อคมากขึ้น สำหรับกลุ่มคนฟังของดอนผีบินก็จะเป็นอินดี้ กลุ่มเรียนช่าง เรียนศิลปะ ชอบอะไรใหม่ๆ ช่วงแรกผมทำอัลบั้มใต้ดิน ขายเอง ลงทุนเอง ได้เทปมาสเตอร์ เขียนหนังสือส่งข่าวให้กับนิตยสารดนตรี หนังสือดนตรีก็มีเพลงไม่กี่เล่ม เช่น นิตยสาร The Quiet Storm. นิตยสารสีสัน สื่อหนังสือก็จะมีเรื่องการเมือง ส่วนใหญ่ค่ายเพลงจะซื้อโฆษณา  บางทีเราส่งข่าวให้หนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร กองบรรณาธิการก็ไม่ลงให้ นอกจากหนังสือที่เป็นอิสระจริงๆ

เราทำวงดนตรีดอนผีบิน หลายคนก็แตกตื่น จุดความสนใจ นิตยสารสีสันเรียกไปสัมภาษณ์ นิตยสาร The Quiet Storm.ทำสกู๊ปข่าว ตอนนั้น เป็นอะไรน่าสนใจ ชุด 1 โลกมืด (Dark World) และ ชุดที่ 2 เส้นทางสายมรณะ (Way Of Death) เราเชื่อมโยงอยู่กับร็อคเรคคอร์ดเพราะเราต้องพึ่งพาการขายกับ ONPA ชุด 3 อุบาทว์-อุบัติ (Disastrous Device Occurence) เราทำเอง ทำค่ายเพลงของตนเอง ทำโปรดักชั่น แต่ยังเซ็นสัญญากับสายส่งสินค้า ชุด 4 สองฟากฝั่ง (Collision) วงการดนตรีเริ่มหอมหวล เราเซ็นสัญญากับ วอร์นเนอร์ มิวสิค ไทยแลนด์ แต่เป็นการขายมาสเตอร์ ดอนผีบินเริ่มทำงานกับค่ายเพลง ชุดที่ 5 สัญญาณเยือน Part 2  วงดนตรีเริ่มแตกเพราะมีปัญหาภายในวงดนตรีเพราะการทำเพลงคือธุรกิจดนตรี เราอยากได้โปรดิวเซอร์มาร่วม เหมือนกับศิลปินระดับโลก แต่ผลสุดท้ายเราก็ไม่เอา ชุดที่ 5 เราก็ซื้อเครื่องอัด 8 แทร็ก มาบันทึกเสียงเอง แต่เราก็เหลือชื่อเสียง เอามาสเตอร์ไปขายให้กับบริษัทในเครือ ONPA

ตอนนั้นแต่ละคนก็ทำกันเอง ชุด 4 สองฟากฝั่ง (Collision)  ชุด 5 สัญญาณเยือน Part 2  ได้รับรางวัลสีสันอวอร์ด ชุด 6 ปรากฏการณ์-ปรากฏกาย (Phenomenon) ก็เข้ารอบ ค่ายเพลงเขาทดสอบเรา ทดสอบว่าเราเข้าใจธุรกิจดนตรีแค่ไหน เหมือนวง Metallica มือกลองตั้งวงดนตรี สามารถนำพาวงดนตรีขึ้นสู่การเป็นวงดนตรีระดับโลก มิวสิคบิสซิเนสสุดยอดมาก ฝีมือการเล่นก็เก่งเขา ฟอฟอร์ม  Metallica ควานหาโปรดิวเซอร์ที่ดีกว่าคนเดิมมาช่วยทำเพลง ตั้งแต่เริ่มแต่งเพลง โปรดิวเซอร์นั่งฟัง บันทึกเสียง หยิบสิ่งดีมาทำ กระทั่งได้ Enter Sandman ยอดขายผลงานเพลงของ Metallica ก็เติบโต ทำทัวส์คอนเสิร์ตทั่วโลก คือคุณทำเพลงอย่างไรโดยไม่หนีตัวตนของคุณ ดอนผีบินฉีก เขามาขวา เราซ้าย สุดท้ายแกรมมี่ก็ไม่ยุ่ง สุดท้ายก็เซ็นสัญญา และปฏิเสธโปรดิวเซอร์ เมื่อวางเทปจำหน่ายอดขายก็เงียบ

ช่วงที่เราเริ่มทำเพลงกับค่ายเพลง เริ่มมีวงอินดี้ วงร็อค เช่น วงโมเดิร์นด็อก มีเพลงอิสระจากกลุ่มเล็ก ค่ายใหญ่ก็เป็นค่ายใหญ่เหมือนเดิม เพราะเขามีต้นทุน เขาต้องทำเพลงเพื่อการค้า (Commercial) แต่ว่าเขาไม่สามาถทำได้เหมือนเดิมทุกอย่าง แต่เขาทำเพลงเพื่อขาย เอาใครมาร้องก็ได้ เป็นซาวด์ตลาดที่ขายได้ เมื่อถึงจุดหนึ่งก็แตกกลุ่ม เพื่อให้อิสระดนตรีคลี่คลาย เช่นมอร์มิวสิค อาร์พีจี เขารวมกันที่เดียวเขาเถียงกันมาก ค่ายที่รับเราตอนชุด 6 ก็ยีราฟ เร็คคอร์ด พี่ดี้เป็นผู้บริหารค่ายเพลง

สูงสุดสู่สามัญ

ชุดแรกเราทำอัลบั้มเรายังทำงานประจำ พอทำอัลบั้มที่สองพี่สัมบัติมือกีตาร์ลาออกจากราชการ ตอนนั้นรับราชการครู ผมกับน้องชายลาออกจากบริษัท เราดินบนเส้นทางดนตรีที่มันเท่ส์ เราคิดว่าจะอยู่กับดนตรี เราไม่รู้เหมือนกันว่าคนอื่นจะคิดยังไง เราลาออกงานเพื่อมาทำเพลงขาย อยู่ได้เพราะเงิน เราก็ต้องขายเทป ได้เงินแบ่งกันเท่าใด อัลบั้ม 3 เราอยู่กับดนตรี ทำได้สองชุดต่างคนต่างใช้ชีวิตของตนเอง พอทำชุด 6 ก็ย้ายคนละทิศทาง สมบัติหนีกลับท่าวังผา น่าน ใช้ชีวิตอยู่รอดยังไงก็ไม่รู้เป็นเวลา 12 ปี โดยไม่มีงาน ทำงานอนุรักษ์

ผมกลับเชียงใหม่มาทำห้องอัดเสียง ทำค่ายเพลงของตนเองชื่อว่า “เดย์วันเร็คคอร์ด” มีห้องบันทึกเสียงอยู่เชียงใหม่ ทำอัลบั้ม รับจ้างทำเพลง ทำสปอตโฆษณา ทำถึงจุดหนึ่งเทปซีดีก็ขายไมได้ เราปรับแผนการทางธุรกิจ เปิดร้านขายเครื่องดนตรี ต่อเนื่องจามาจากการทำห้องบันทึกเสียงเพราะสมัยก่อนอยู่ห้องบันทึกเสียงอยู่กลางทุ่งนา ย้ายเข้าในเมืองมาเช่าตึกแถวทำห้องบันทคกเสียง มองเห็นเขาขายเครื่องดนตรี แล้วก็มีลูกค้าบอกว่า อยากได้เครื่องเสียงสักชุดจะเอาไปประชุมชาวบ้าน เป็นงานของพิธีกร ส่งเสริมชาวบ้าน นั่นเป็นจุดเริ่มต้น หาแบบไหนราคาเท่าไหร่ จัดให้เป็นชุด เป็นจุดเริ่มต้นการทำธุรกิจขายเครื่องดนตรี  

เราทำร้าน Maximum Sound เมื่อ 15 ปี ที่แล้ว สมคิด แก้วทิตย์ ทำงานกับศิลปิน ทำเอ็กซิบิชั่น จัดงานโชว์ภาพ เดินทางไปทำงานที่ลาว ระหเร่ร่อน ทำงานสถานบันเทิง ตอนนี้อยู่เชียงรายทำงานได้งบประมาณส่งเสริมศิลปะ ส่วน สมบัติ แก้วทิตย์ ใช้ชีวิตศิลปิน อยู่ที่ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง แต่ยังคงขายเสื้อดอนผีบิน แต่ยุคสมัยก่อน ขายเสื้อค่อนข้างยาก ต้องเกิดจากแฟนเพลงเขียนมาหา จึงเกิดไอเดีย สกรีนเสื้อธรรมดา แฟนเพลงก็ส่งธนาณัติมาให้

กระทั่งถึงปัจจุบัน คนซื้อเสื้อดอนผีบิน ก็คือแฟนเพลงยุคสมัยนั้น ตั้งแต่ชุดที่ 1 – 4  ช่วงนั้นคนฟังเพลงซื้อเอาไปใส่ เด็กๆ เริ่มเห็น เด็กช่างก็ซื้อกัน ตอนนั้นไม่มีของปลอม แต่เมื่อปีที่แล้วเด็กช่างใส่เสื้อดอนผีบินเป็นทีม ช่วงหลังเกิดการชิงเสื้อดอนผีบินกลายเป็นข่าวใหญ่ มันอาจจะเป็นข่าวทางลบแต่เป็นเรื่องพฤติกรรมของคนในสังคม ตอนหลังก็มีคนผลิตเสื้อดอนผีบินขายเต็มไปหมด ทั้ง พม่า ตลาดอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ วางแผงขายทั่วไปตามตลาดนัด เสื้อดอนผีบินก็เลยขาดความขลัง ตอนนี้ก็กลับมาสู่ภาวะปกติ อาจจะแย่กว่าเดิมเพราะเสื้อดอนผีบินมีในตลาดมากเกินไป

พ.ศ. 2543 เราหยุดทำเพลง หลังเล่นคอนเสิร์ตการสื่อสารของสมาชิกในวงเริ่มแย่ลง ผมซื้อเครื่องอัดเสียง 8 แทร็ก ซื้อเครื่องดิจิตอลเดโม เล่นจนพัง ก็เลยคิดว่า เครื่องอัด 8 แทร็กลองบันทึกเสียงตนเอง ทำอัลบั้มดุมเดย์ เราขายเพลง ทำค่ายเพลง ผมพยายามทำเพลง ทำค่ายเพลงของตนเอง ทำห้องอัดเสียงให้คนมาเช่า ทำห้องบันทึกเสียงได้ค่าห้องชั่วโมงละ 400 บาท ผมพยายามต่อสู้มากกว่าคนอื่น เราผ่านชีวิตมาให้ได้ เราทำงานขายเครื่อดนตรี มีลูกน้อง ช่วงหลังเราทำเสื้อขาย

Ai  เทคโนโลยีดนตรีที่ไม่มีจิตวิญญาณ

ตอนนี้ศิลปินมี 2 กลุ่ม เขาอาจใช้เทคโนโลยีทำเพลง มองว่าการใช้ Ai ผลิตดนตรีเป็นทางลัด อยากมีชื่อเสียง สื่ออยู่ในมือทุกคน เมื่อมีข่าวหรือกระแสอะไรก็จะกลายเป็นคนดังในชั่วพริบตา ขณะเดียวกันสื่อทุกอย่างก็อำนวย อยากทำเพลงมีคอมพิวเตอร์ตัวเดียว มีคนสอนในยูทูป เรียนรู้หรือหาเพื่อนมาช่วยกันทำเพลง ส่วนการคิดก็ใส่โจทย์กำหนดเงื่อนไขให้กับ AI มันจะนำข้อมูลสร้างเป็นโครงเพลง แล้วก็นำเพลงมาทำต่อ มันอาจเป็นกระบวนการทำเพลงที่เร็ว แต่ในแง่ของความมีจิตวิญญาณและความคิดอาจไม่มี  คนฟังเพลงอาจจะไม่รู้ แต่มันก็อาจจะเจ๋งที่คนฟังก็ได้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าศิลปินคนนั้นเป็นคนทำเพลง ความเป็นอมตะก็ไม่มี เพราะมันใช้ Ai  บทเพลงหากไม่มีการประชาสัมพันธ์ก็จะเลือนหาย มันต้องมีการแนะนำในสื่อออนไลน์ มีความท้าทายเรื่องการแข่งขัน

ทุกวันนี้ เรานั่งในร้านอาหารดูนักดนตรีเล่นเพลงของคนอื่น เล่นเพลงของศิลปิน นักดนตรีอาจมีทักษะการเล่นดนตรีที่ดีมาก แต่เขาไม่มีผลงานของตนเอง นักฟังเพลงชาวต่างชาติเขาเคารพเรื่องลิขสิทธิ์ ถ้าเอาเพลงคนอื่นมาเล่นเขาจะดูถูก คือ ถ้าจะเอาเพลงเขามาเล่นก็ต้องจ่ายเงินให้เขา ฉะนั้น นักดนตรีที่เป็นศิลปิน คือคนที่คิด สร้างสรรค์ ทำงานตนเอง นำเสนอเพลงแนวใด บางคนก็ไม่มีความคิด ตัวอย่างศิลปินค่ายแกรมมี่ น้อยคนนักที่จะเหมือนกับวง “โลโซ” เพราะเขาสร้างสรรค์ดนตรีขึ้นมาเอง ต่างกับวงดนตรีวงอื่นที่มีเพียงฝีมือ มีคนเขียนเนื้อ มีคนเรียบเรียง บันทึกเสียงก็ไม่ได้บันทึกเสียงเอง พี่เบิร์ดก็ร้องเพลงอย่างเดียว ศิลปินในยุคปัจจุบันก็จะมีหลากหลาย ลิซ่า เป็นศิลปินระดับโลกก็มีคนทำให้ เธอมีหน้าที่พรีเซ็นท์หน้าเวที แต่กว่าจะถึงจุดนั้นก็ต้องผ่านการฝึกฝน

บทเพลงมีหลากหลายเช่นเดียวกับรูปภาพ รูปภาพศิลปินนั่งวาดเพียงคนเดียวแต่การทำผลงานเพลงไม่ใช่ การทำเพลงต้องมีการบริหารจัดการ การโปรดิวซ์ เทคโนโลยีบนเวที มีการพัฒนาสามารถใช้ไอแพดเชื่อมคอนโทรเดินมิกซ์ตรงไหนก็ได้ สำหรับผมคิดว่า มันเป็นขีดสุด อีกไม่ช้าเสียงเพลงอาจมาตามอากาศโดยไม่ต้องมีลำโพง หรือกรณีคอนเสิร์ตล่าสุดของวงพอส โจ้ ที่เสียชีวิตไปแล้วเดินอยู่บนเวที ใช้เทคโนโลยีจำลองคนขึ้นมา เราไม่รู้ว่าการใช้เทคโนโลยีนำเสนอจะไปไกลกว่านี้หรือไม่ ส่วนพวกเราตอนนี้หยุดทำเพลง มีการรำลึกถึง “ดอนผีบิน”  เขียนบอกเล่าเรื่องราวเก่าๆ พวกเราแก่แล้ว ทำเพลงต่อไปก็เหมือนเดิม คงไม่มีความคิดอะไรใหม่ ความคิดบางอย่างไม่เปลี่ยนแปลงซึ่งก็น่าจะเป็นสิ่งที่มันควรจะเป็น เราก็เลยไม่ร่วมกันทำเพลง ใครอยากทำอะไรก็ทำ ทำงานส่วนตัว