หลายปีก่อน เรามองเห็นความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภคผักผลไม้ พวกเขากำลังพยายามหาวิธีกำจัดสารเคมีอันตรายบนพืชผัก มินานนักกระบวนการปลูกผักผลไม้ก็ปรับเปลี่ยนสู่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ มีหน่วยงานรับรองเช่นสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์เกิดขึ้น สินค้าประเภทผักผลไม้อินทรีย์ระดับพรีเมี่ยมที่ปลูกในพื้นที่ท้องถิ่นจังหวัดพะเยามีจำนวนมากขึ้นและเริ่มวางจำหน่ายบนชั้นวางสินค้าในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ นั่นคือความเปลี่ยนแปลงของเกษตรกรที่กำลังปลูกผักผลไม้เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค โดยเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2565 มีจัดเสวนาแนวทางการตลาดเกษตรอินทรีย์จังหวัดพะเยา ณ เทียนวิหารฟาร์ม ต.แม่กา อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา เพื่อพูดคุยเสวนาในประเด็นการตลาดของสินค้าเกษตรอินทรีย์

“เวทีเสวนาเป็นจุดเริ่มต้นการพูดคุยแลกเปลี่ยนสร้างเครือข่าย นับเป็นรูปแบบวัฒนธรรมที่ดี”

ศักดิ์ฤทธิ์ สลักคำ ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา

จังหวัดพะเยาเรามีของดี แต่จะค้นหาสิ่งดีเอย่างไร วีธีการที่ดีที่สุดคือการพูดคุยปรึกษา สร้างการมีส่วนร่วม เมื่อมีความคิดเห็นใดก็พูดคุยแลกเปลี่ยน กระบวนการค้นหามีหลายองค์ประกอบ ตัวอย่างวลีที่ว่า ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ที่พวกเราชอบพูดกัน ต้นน้ำคืออะไรจะผลิตสินค้าอะไรที่เป็นสินค้าต้นน้ำ สิ่งที่ผลิตต้องมีคุณภาพ มีลัษณะเด่น มีเครื่องหมาย มีการรับรองคุณภาพ เมื่อสามารถผลิตสินค้าได้แล้วปลายน้ำคืออะไร ลูกค้าหรือผู้บริโภคต้องการอะไร สินค้าอยู่ในรสนิยมของลูกค้าหรือไม่ ผมเชื่อว่าบรรยากาศ สภาพแวดล้อมและการสร้างเวทีเสวนาแบบนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นการพูดคุยแลกเปลี่ยนสร้างเครือข่าย นับเป็นรูปแบบวัฒนธรรมที่ดี เป็นการเริ่มต้นปรับเปลี่ยนทัศนคติ โลกของเราเปลี่ยนแปลง พวกเราไม่สามารถควบคุมโลกได้ แต่เราปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ดีของเราได้ ปรับตัวอย่างรู้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลง

“พ.ศ.2566 เราจะได้งบประมาณจากสำนักงบประมาณเกษตรอินทรีย์”

นฤมิตร สมัคร หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานเกษตรพะเยา

ผมทำหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่รุ่นคุณป้า คุณอา คุณยาย เราเริ่มตั้งแต่สร้างกระแสการรับรู้การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย เป็นหุ้นส่วนเกษตรอินทรีย์ เดียวนี้มีคนรุ่นใหม่เข้ามาทำการเกษตรเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ คนตกงานหลายคนหันมาทำการเกษตร เมื่อมีผลผลิตเราก็ต้องคำถามว่า จะขายสินค้าเกษตรอินทรีย์กันที่ไหน พวกเราเชิญบริษัทสุขทุกคำ บริษัทวังรีคลีน เพื่อรับผลผลิตเกษตรกอินทรีย์ไปทำการตลาด พ.ศ.2565 บริษัทสุขทุกคำก็ยังเป็นพันธมิตรกับพวกเรา ตอนนี้บริษัทสุขทุกคำสร้างฟาร์มที่จังหวัดพะเยา พ.ศ.2566 เราจะได้งบประมาณจากสำนักงบประมาณ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา อธิบายชี้แจงให้กับกรรมาธิการสำนักงบมาณเรื่องเกษตรอินทรีย์ ตอนนี้ภาครัฐมีงบประมาณสนับสนุนการอบรมให้ความรู้เกษตอินทรีย์ มีงบประมาณสนับสนุนการอบรมผู้ตรวจแปลง และงบประมาณสร้างเครือข่ายระดับอำเภอ

ตอนนี้เรากำลังก่อสร้างตลาดกลางสินค้าเกษตรอินทรีย์พื้นที่ 5,000 ตาราเมตร 500 คูหา

เอกพงค์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมธุรกิจ เทคโนโลยีและนวัตกรรม กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

ประเทศไทยใช้กลไก PGS อันเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมซึ่ง IFOAM หรือ สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements) เป็นผู้คิดค้น เขาต้องการลดค่าตรวจแปลงที่มีราคาแพง จึงวางกรอบการทำงานให้แต่ละประเทศนำไปใช้ เป้าหมายของสมาพันธ์เกษตรยั่งยืนคือต้องการสร้างเกษตรกรผู้ตรวจแปลงให้มีจำนวนมากที่สุด เพื่อผู้ตรวจแปลงจะเข้าสู่การรับรองมาตรฐานใบรับรองเกษตรอินทรีย์ เป้าหมายต่อไปคือเราจะทำอย่างไรให้เกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมมีจำนวนเต็มทุกตำบล สร้างสัมมาชีพให้เกิดขึ้นเต็มพื้นที่ เราจะทำอย่างไรให้พะเยาประกาศออร์แกนิคอาเจนดาร์ (วาระเกษตรอินทรีย์) ตอนนี้เรากำลังก่อสร้างตลาดกลางสินค้าเกษตรอินทรีย์พื้นที่ 5,000 ตาราเมตร 500 คูหา เกษตรกรสามารถรวบรวมสินค้าเกษตรอินทรีย์ไปขายที่นั่นได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 2 ปี เราชวนทุกท่านมาต่อซัพพลายเชนสินค้าเกษตอินทรีย์ ขับเคลื่อนตลาดสินค้าอินทรีย์ ขับเคลื่อนโครงการ 1 ล้านครัวเรือน 1 เกษตอินทรีย์  

“ลูกค้ามีความต้องการผักผลไม้อินทรีย์เพิ่มมากขึ้นผมจึงทำฟาร์มที่พะเยา”

สมศักดิ์ เจียรสมบูรณ์ บริษัท สุขทุกคำ จำกัด

“สุขทุกคำ” คือเราสุขทุกคำที่ได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย สุขทุกคำเหมือนซุปเปอร์มาเก็ตเล็กๆ จัดส่งสินค้าในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล เราขายเฉพาะสินค้าที่มีมาตรฐานอินทรีย์ ตอนนี้สุขทุกคำมีผักผลไม้มากกว่าหนึ่งร้อยรายการ ผลไม้เราเสาะหาตามฤดูและคุณภาพ เรามีเว็บไซต์สามารถรับออร์เดอร์และจัดส่งสอนค้า ปัจจุบันสุขทุกคำรับซื้อผลไม้จากเกษตรกรจังหวัดพะเยาจำนวน 200 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ลูกค้าของเรามีกำลังซื้อและมีความต้องการผักผลไม้อินทรีย์เพิ่มมากขึ้น ผมจึงเริ่มทำฟาร์มที่ห้วยลาน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา พื้นที่การเกษตรจำนวน 60 ไร่ ทดลองปลูกผักอินทรีย์จำนวน 1 ไร่ ต้องเจอกับปัยหามากมายเพราะเกษตรกรชินอยู่กับการใช้สารเคมี ผมต้องใช้พื้นที่ฟาร์มทำการเกษตรเพื่อปลูกผักให้ได้ต้ตามคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ

ผศ.ดร.บังอร สุขสวัสดิ์สุข ที่ปรึกษา บริษัทออแกนิคพะเยาวิสาหกิจเพื่อสังคม

บริษัทออแกนิคพะเยาวิสาหกิจเพื่อสังคม จดทะเบียนโดยชื่อบ่งบอกว่า เราจะเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นนิติบุคคล เราดำเนินการมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี มีวิสาหกิจนิติบุคคลจำนวน 49 ราย ซึ่งเราจะต้องดำนินการด้านการเงินและการบัญชี ด้านการตลาด การจำหน่ายสินค้า รายเดี่ยว กลุ่ม วิสาหกิจชุมชน อนาคตเราจะเข้าสู่ตำบล แต่อยากฝากข้อคิดกับเกษตรกรไว้ว่า ผลิตแล้วจำหน่ายด้วยตนเองก่อน ขายใบรับรอง สร้างความเชื่อมั่นให้ได้ว่าคุณผลิตเกษตรอินทรียพืชผักผลไม้เป็นเกษตรอินทรีย์จริง อย่าให้เขาตรวจสอบได้ว่าเขามีสารเคมีเจอปน

นายณัฐพล ขุ่ยคำ กรรมการผู้จัดการบริษัทออแกนิคพะเยาวิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด

ผมเริ่มต้นการเป็นสมาชิกสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนพะเยา เราขับเคลื่อนตลาดชุมชน ขยายกลุ่มที่อำเภอแม่ใจ ขยายตลาดในพื้นที่ เราส่งผักให้กับโรงครัวของโรงพยาบาลแม่ใจ ตอนนี้เรากำลังคุยกับกลุ่มของบริษัทที่นำเข้าส่งออกสินค้าอินทรีย์ ผมอบรมเกษตรอินทรีย์รุ่นใหม่ที่แม่โจ้ เรียนการเขียนแผนธุรกิจ ธุรกิจเป็นคนละเรื่องกับการเกษตร เราเห็นภาพโมเดลแปลงเกษตร ผมเอาโมเดลการเกษตรมาทำเรื่องเกษตรอินทรีย์ชุมชน ชวนคนในชุมชนมาทำการเกษตรแล้วจึงมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ แล้วจึงเกิดเป็นกลุ่มเกษตรอินทรีย์จริงๆ เราทดลองปลูกผักสลัด ทำให้คนแม่ใจรู้จักผักสลัดอแต่ละสายพันธุ์ย่างจริงจัง จากนั้นมีการบอกต่อและมีสมาพันธ์เกษตรยั่งยืน สิ่งที่เกิดขึ้นคือเรามีตัวตนในพื้นที่ มีโรงพยาบาลเริ่มติดต่อซื้อผลผลิตของเรา โรงพยาบาลต้องการผักสวนครัวเราก็ปลูกผักอินทรีย์สวนครัวเพื่อตอบโจทย์โรงพยาบาล

ดร.ประพันธ์ เทียนวิหาร นายกสโมสรโรตารีพะเยาและสมาชิกชาวนาโลก

สโมสรโรตารี พยายามทำงานเรื่องคุณภาพชีวิต โรตารีเปลี่ยนชีวิตด้วยจิตบริการ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์เราผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ ดูแลสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้สารเคมี เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ลดภาระคาร์บอนเครดิต (ปริมาณก๊าซเรือนกระจก) เราตอบโจทย์ระดับโลก เกษตรกรเปลี่ยนวิถีชีวิตจากเกษตรสารเคมีและเทคโนโลยี เมื่อเปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนพฤติกรรม ก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้ในทางบวก ขอบคุณเครือข่ายเพื่อสร้างพลังให้เกิดขึ้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเราและโลก ขอบคุณผู้บริหารระดับจังหวัดที่ให้ความสำคัญกับการเกษตรที่เป็นวิกฤติมาอย่างยาวนาน ปัญหาคือไม่มีตัวเชื่อม รัฐส่งเสริมแต่ไม่มีกระบวนการต่อยอด วันนี้เรามองเห็นภาคการผลิต การตลาด สู่ผู้บริโภค เชื่อมร้อยกันทำให้เกิดพลังทางสังคม มันจะเกิดพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม หรือธุรกิจเพื่อสังคม มันคือคุณภาพชีวิต เริ่มจากครอบครัว ชุมชุนสู่เครือข่ายระดับโลก

ผศ.น.สพ.สมชาติ ธนะ และ บงกช กาญจนรัตนากร ดำเนินรายการ