“กว๊านพะเยา” คือชื่อภาษท้องาถิ่นภาคเหนือของประเทศไทย หมายถึง “แหล่งน้ำ” หรือ “บึง” ตั้งอยู่ที่จังหวัดพะเยา ประเทศไทย ลักษณะเป็นแหล่งน้ำ เดิมทีบริเวณแหล่งน้ำแห่งนี้คือเมืองโบราณมีผู้คนอาศํย แต่เกิดอุทกภัย เมืองที่เคยเป็นชุมชนมีผู้อยู่อาศัย มีวัดวาอารม จมอยู่ใต้ผืนน้ำ ต่อมาในปี พ.ศ.2482 มีการสร้างประตูกั้นน้ำ เรื่องราวประวัติศาสตร์และหลักฐานทางโบราณคดีจึงถูกลืมเลือน
ย้อนเวลากลับไปหลายร้อยปี ใต้ผืนน้ำ “กว๊านพะเยา” คือชุมเมืองมีผู้อาศัยเรียกว่า เมือง ผายาว, พญาว หรือ ภูกาวมยาม อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา (เชียงใหม่) ซึ่งในยามนั้น อาณาจักรล้านนาปกครองโดยพระเจ้าติโลกราช ทำศึกกับกรุงศรีอยุธยาซึ่งปกครองโดยพระบรมไตรโลกนาถ
สมัยก่อนบ้านเมืองปกครองแยกขาด สุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงเรืองอำนาจ ปกครองแว่นแคว้นหัวเมืองน้อยใหญ่อาณาเขตกว้างไกลถึงล้านนา เมื่อสิ้นพ่อขุนรามคำแหงเหล่าขุนนางขัดแย้งแตกแยก เจ้าเมืองวางใจหัวเมืองประเทศราช ปล่อยให้สะสมกำลังทหารแข็งขืนแยกตนเป็นอิสระ เจ้าเมืองล้านนาเข้มแข็งประกาศอิสรภาพ ด้านพระเจ้าสามพระยาเจ้าเมืองอยุธยาแม้ภักดี กลับดำเนินเล่ห์กลจนสมเด็จพระอินทาราเมตตายกพระราชธิดาให้อภิเษกสมรส เมื่อสิ้นสมเด็จพระอินทาราเจ้าเมืองสุโขทัยองค์สุดท้าย เจ้าสามพระยาจึงปกครองอยุธยาและสุโขทัยคู่ขนาน แต่การปกครองนั้นยากยิ่งด้วยผู้คนสองเมืองไม่สามัคคี แตกแยกขัดแย้งชิงดีชิงเด่น ส่วนล้านนาเรืองอำนาจมุ่งทำศึกตีหัวเมืองจนราบคาบ เจ้าสามพระยาวัยชราเริ่มอ่อนแอจึงยกราชสมบัติให้พระบรมไตรโลกนาถสืบต่อ การสู้รบระหว่างอยุธยากับล้านนาดำเนินต่อเนื่อง
เมื่อพระบรมไตรโลกนาถครองราชย์สมบัติ ทรงออกผนวช ณ วัดจุฬามณี พิษณุโลก เพื่อขอบิณฑบาตเมืองเชียงชื่น เมื่อเดินทางถึงเมืองล้านนา พระบรมไตรโลกนาถเผชิญหน้ากับพระเจ้าติโลกราชพร้อมคณะสงฆ์ เมืองล้านนาสามนิกายประกอบด้วย 1.ศิษยานุศิษย์พระสุมนเถระนิกายลังกาวงศ์เดิม(วัดสวนดอก) 2.นิกายลังกาวงศ์ใหม่กลุ่มสุโขทัย 3.นิกายมหาวงศ์ใหม่กลุ่มพระธรรมคัมภีร์ (วัดป่าแดง วัดเจ็ดยอด) อันเป็นเหล่าสงฆ์ผู้รอบรู้แม่นยำธรรมวินัยวินิจฉัยว่า “ ผู้ออกบวชย่อมสละสมบัติทั้งปวง การบิณฑบาตเมืองหาเป็นกิจอันควรของสงฆ์ไม่ ” พระเจ้าติโลกราชนิ่งงันส่วนพระบรมไตรโลกนาถเสด็จกลับอยุธยาอย่างปลอดภัย
ล้านนาเรืองอำนาจ มิต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ มิเป็นเมืองขึ้นกับผู้ใด พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ผู้เติบโตมากับการแก่งแย่งชิงดีเป็นผู้เข็มแข็ง ทำสงครามตีเมืองน้อยใหญ่เป็นเมืองขึ้นประเทศราช พระเจ้าติโลกราชเจ้าเมืองล้านนาและเหล่าอำมาตย์เมืองอยุธยาคุ้นเคยกันมาแต่เดิม ด้วยเคยร่วมหัวจมท้าย วางแผนเล่นศึกชิงเมือง พระเจ้าติโลกราชเจ้าเมืองล้านนามองเห็นพระยายุทธิษฐิระตั้งแต่เยาว์วัย รากเหง้าเหล่าสกุลบุตรขุนนางรูปร่างหน้าตาเติบใหญ่คงเป็นขุนศึก ยามเติบโตรับใช้พระบรมไตรโลกนาถกลับได้เพียงพระยาสองแควพิษณุโลก
พระยายุทธิษฐิระทรงน้อยเนื้อต่ำใจที่กษัตริย์ผิดคำสัญญา เพราะเมื่อครั้งเยาว์วัย พระบรมไตรโลกนาถเคยสัญญาว่า หากพระบรมไตรโลกนาถได้ครองกรุงศรีอยุธยา จักให้พระยายุทธิษฐิระปกครองเมืองสุโขทัยดังเช่นพระร่วง ยามเติบใหญ่พระยายุทธิษฐิระช่วยทำการศึกและปกครองไพร่ฟ้า พระบรมไตรโลกนาถผู้กลับให้ตำแหน่งเพียง พระยาสองแคว
ส่วนพระเจ้าติโลกราชก็ด้วยรู้จักมักคุ้นพระยายุทธิษฐิระ เพราะเคยทำศึกชิงเมือง ครั้นจะรบฆ่าก็จักเสียคนดีมีฝีมือ พระเจ้าติโลกราชจึงเกลี้ยกล่อมพระเจ้าติโลกราชรับเป็นบุตรบุญธรรม จากนั้นนำกำลังทหารของพระยายุทธิษฐิระทำศึกชิงเมืองพิจิตร เมื่อสิ้นสงครามทรงให้ทหารพักรบอยู่เมืองภูคา (เขตพื้นที่สาธารณรัฐประชาชนลาว) หลังจากนั้นให้ พระเจ้าติโลกราชจึงให้พระยายุทธิษฐิระปกครองเมืองพะเยา (พ.ศ.2011-2022)
สงครามระหว่างอยุธยากับล้านนายังดำเนิน หลังศึกสงครามสิ้น การทำนุบำรุงศาสนาเป็นหลักสำคัญในการปกครองบ้านเมือง พระยายุทธิษฐิระเลื่อมใสศรัทธาพุทธศาสนา จึงสร้างวัดดูแลศาสนา ส่งเสริมภิกษุให้ศึกษาธรรมตามแนวทางมหายาน ทรงสร้างวัดป่าแดงบุญนาคและวัดติโลกอาราม เมื่อครองเมือง 10 ปี เกิดข้อพิพาทเพราะเรื่องพระพุทธรูป ด้วยพระยายุทธิษฐิระอันเชิญพระแก่นจันทร์แดง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์จากวัดประทุม (หนองบัว) จังหวัดเชียงใหม่มาประดิษฐาน ณ วัดป่าแดง จังหวัดพะเยา หลายปีต่อมาพระเจ้าติโลกราชทรงอัญเชิญพระพุทธรูปพระแก่นจันทร์แดง กลับมาประดิษฐาน ณ เมืองเชียงใหม่
แต่จักกล่าวโทษพระเจ้าติโลกราชมิได้ ด้วยก่อนหน้านั้นเกิดข้อครหาว่า พระสงฆ์จากเมืองพุกามประเทศพม่าเป็นคนของอยุธยา วางแผนเข้าเมืองลอบทำคุณไสยและทำลายต้นไทร ณ แจ่งศรีภูมิ มุมเมืองเชียงใหม่ จนบ้านเมืองระส่ำระสาย พระยายุทธิษฐิระมิเป็นที่วางใจ ด้วยพระเจ้าติโลกราชเกรงว่าการเชิญพระแก่นจันทร์แดง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์จากวัดประทุม (หนองบัว) อาจเป็นเล่ห์กลชักนำของศักดิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ออกจากเมือง พระยายุทธิษฐิระถูกปลดจากตำแหน่งเจ้าเมืองพะเยา แต่ยังคงมีศักดิ์เป็นลูกบุญธรรมของพระเจ้าติโลกราช
วัดติโลกอาราม จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการสรรเสริญพระเจ้าติโลกราชเจ้าเมืองล้านนา
พ.ศ.2482 ประตูกั้นน้ำแม่อิงเริ่มก่อสร้าง พ.ศ. 2484 การก่อสร้างเสร็จสิ้น สายน้ำอิงไหลรวมแม่น้ำหลายสายจากเทือกเขาผีปันน้ำ เกิดภัยธรรมชาติอันแปรปรวน ภัยแล้ง น้ำท่วม เกิดขึ้นมิรู้จักจบ ชุมชน ผืนน้ำ วัดวาอาราม จึงถูกปกคลุมกลายเป็นน้ำผืนเดียวชื่อ “กว๊านพะเยา” ชุมชนเมืองจมอยู่กลางกว๊านพะเยา ผู้คนอพยพสร้างแหล่งอาศัยบริเวณรอบกว๊าน
ผืนน้ำกว๊านพะเยาอันเย็นเยียบปกคลุมเมืองโบราณนานหลายสิบปี บ้านเรือนชุมชนผู้คนโยกย้าย แต่วัฒนธรรมโบราณยังถูกสืบสาน ยามน้ำลดหรือเกิดภัยแล้งมองเห็นก้อนอิฐเก่าแก่เรียงรายไม่เป็นระเบียบ โบราณสถานรกร้างขาดการดูแล ซากปรักหักพังของโบราณสถานอยู่กลางผืนน้ำ เศษอิฐอันเก่าแก่อายุกว่าสองพันปียังเข็งแกร่ง พุทธรูปปางมารวิชัยฝีมือช่างแกะสลักสกุลช่างพะเยาตั้งตระหง่านเช่นเดียวกับหลักศิลา เมื่อพินิจพิจารณาพบว่าเป็น พระพุทธรูปหินทราย “หลวงพ่อศิลา” มีต้นกำเนิดจากก้อนหินทรายจากผายาว ภูเขามีลักษณะเป็นป่าหินตั้งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดพะเยา-เชียงราย ช่างแกะสลักสกุลช่างพะเยาเริ่มต้นแกะสลักหินจากงานแกะสลักครกหิน พัฒนาฝีมือสู่การแกะสลักพระพุทธรูป
ยุคสมัยก่อนงานแกะสลักหินทรายรับอิทธิพลจากเชียงแสน ผสมผสานอิทธิพลพระพุทธรูปหมวดใหญ่ศิลปะสุโขทัย งานด้านสถาปัตยกรรมผสมผสานศิลปะหลายวัฒนธรรม ทั้งประสาทศิลปะเขมร ศิลปะสุโขทัย ศิลปะล้านนา เจดีย์วัดติโลกอาราม คือ เจดีย์ทรงประสาทยอด มีลักษณะเรือนหลังคาซ้อนกันเป็นชั้น อันเป็นการผสมผสานทางศิลปะ มิใช่สร้างตามคติความเชื่อเขมร เช่นเดียวกับเจดีย์วัดป่าแดงบุญนาค อันเป็นวัดคู่บุญซึ่งก่อสร้างในช่วงสมัย พระยายุทธิษฐิระ เป็นผู้ปกครองเมืองพะเยา
สรรพสิ่งเปลี่ยนแปลงตามกาล เจดีย์วัดติโลกอารามทรงประสาทยอดพังทลายลงสู่ผืนน้ำ มองมิเห็นร่องรอยความงาม แต่เมื่อพิจารณาด้วยธรรม วัดติโลกอารามคือวัฐจักร การพังทลายของวัดติโลกอารามแสดงถึงธรรมมะอันเป็นสามัญลักษณะ
ติโลกอารามคือมหาวิหารแห่งไตรลักษณ์บนผืนน้ำ…
ประติมากรรม บอกเล่าประวัติศาสตร์เมือง การสงครามแก่งแย่งชิงดีเสื่อมสลาย พระพุทธรูปหินทรายอันเคยงดงาม ผิวพรรณเรียบดั่งขัดมัน ถูกกัดกร่อนด้วยกระแสน้ำ
ศิลปะอาจเหมือนสายน้ำงดงามหนุนเนื่อง วัฒนธรรมก็อาจเป็นเช่นเดียวกับสายน้ำที่ไหลเวียนบรรจบผสมผสาน พุทธศิลป์สกุลช่างแกะสลักเมืองพะเยาเป็นเหมือนสายน้ำบรรจบสามสาย นั่นคือ พุทธศิลป์เชียงแสน พุทธศิลป์สุโขทัย และพุทธศิลป์ล้านนา การแกะสลักหินทรายต้องอาศัยความชำนาญอย่างเที่ยงมั่น ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยก่อให้เกิดความเสียหาย พระพุทธรูปอาจแตกหักหรือเสียรูปทรง ฉะนั้นแล้วรูปความคิดทางศิลปะของช่างแกะสลักต้องชัด จัดเจน
พุทธศตวรรษที่ 19 ศิลปะการแกะสลักสกุลช่างพะเยารับอิทธิพลจากเชียงแสน พระพุทธรูปสิงห์หนึ่ง ศิลปะกาละจากเมืองพุกามประเทศพม่า นับเป็นเอกอัครพุทธศิลป์แห่งเมืองล้านนา พระพุทธรูปปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิเพชร หัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา(ตัก) หัตถ์ขวาวางคว่ำลงบนชานุ (เข่า) วรกายอิ่มเอิบน่าศรัทธา มีนิทานปรัมปราหรือสิหิงคนิทานเล่าว่า พระพุทธรูปสิงห์หนึ่งสร้างขึ้นในลังการาว พ.ศ.700 โดยเจ้าเมืองลังกา 3 พระองค์ ทรงร่วมพระทัยพร้อมกับพระอรหันต์ หมายให้เป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า อ้างอิงถึงพญานาคผู้มีอายุยืนยาผู้พบเห็นพระพุทธเจ้ายามมีชีวิต จากนั้นจึงนิมิตแปลงกายเป็นพระพุทธเจ้าตัวจริง แล้วสร้างพระพุทธรูปตัวแทนพระพุทธเจ้า เมื่อพุทธศาสนาเผยแผ่ถึงเมืองเชียงแสน พระพุทธรูปสิงห์หนึ่งจึงเป็นที่เลื่องลือถึงศรัทธาและความงดงาม
ปลายพุทธศตวรรษ 19 – 20 เมืองพะเยารวมเป็นหนึ่งกับอาณาจักรล้านนา พระสุมนเถระนิกายลังกาวงศ์เดิม มีบทบาทสำคัญสู่การนำศิลปะสุโขทัยเผยแพร่สู่อาณาจักรล้านนา ยุคสมัยพญาคำฟูเจ้าเมืองพะเยารับอิทธิพลศิลปะปติมากรรมสุโขทัย พุทธศิลป์พระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่เลื่องลือด้านความงดงาม เมื่อกล่าวให้เข้าใจโดยง่ายเปรียบพระพุทธรูปเป็นร่างกายมนุษย์ พุทธรูปหมวดใหญ่นั่งขัดสมาธิแบนราบกับพื้น ดวงหน้ามนเหมือนดั่งรูปไข่ ดวงเนตรพริ้มเหลือบมองลงต่ำด้วยเมตตา รูปคางกลมเป็นปม รูปจมูกเรียวโด่งเป็นสันงดงาม รูปปากคล้ายดั่งอมยิ้ม ขอบริมฝีปากเป็นรอยเส้นคู่ดูแปลกตา พุทธรูปหมวดใหญ่สุโขทัยงดงามเป็นเอกลักษณ์อันชดช้อย แสดงถึงความงดงามของบ้านเมืองในยุคสมัยนั้น
พุทธศตวรรษ 20 ยุคสมัยแห่งการตกผลึกพุทธศิลป์สกุลช่างพะเยา หลังรับอิทธิพลศิลปะล้านนาจากพระพุทธรูปพระเจ้าแข้งคมสร้างสมัยพระเจ้าติโลกราช อันเห็นเด่นชัดเป็นสังเกตบริเวณลำแข้งพระพุทธรูปสั้นกว่าพุทธรูปทั่วไป ศิลปะสกุลช่างพะเยายุคสมัยนี้ นับเป็นเอกอัครแห่งพระพุทธรูปหินทราย ด้วยวัตถุธาตุเกิดจากการชนกันของชั้นหินเปลือกโลกบริเวณลอยเลื่อน กลายเป็นเทือกเขาผายาวอันมั่นคงศักดิ์สิทธิ์ ผ่านกระบวนการอันประณีตนำหินผาสู่แท่งสลัก พุทธศิลป์หลายแขนงถูกผสมผสาน ความคมคายของลายเส้นเป็นเอกลักษณ์ ผ่านความชำนาญในการลงน้ำหนักด้วยฆ้อนกระทบหัวเหล็กลิ่ม การแกะสลักพุทธรูปหินทรายมิใช่เพียงฝีมืออันละเอียดหมดจด
“ผายาว” เป็นชื่อเรียกหุบผา มีลักษณะยาวเป็นแนวดั่งนิ้วนางอันชดช้อย เป็นต้นธารอารายธรรมหินทรายของศิลปินช่างแกะสลักหินทรายสกุลช่างพะเยา สมัยก่อนหินทรายจากบริเวณแถบนี้ ถูกนำมาก่อสร้างเป็นประติมากรรม ทั้งเสาอุโบสถ พระประธาน พระพุทธรูป ลูกนิมิตพุทธสีมา หินทรายนับเป็นรากฐานพุทธศิลป์ ณ วัดผาธรรมนิมิต (วัดผาห้วยเกี๋ยง) ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พบก้อนหินทรายเก่าแก่จำนวนมากเรียงราย เมื่อเดินสำรวจลงไปตามหุบผาสลับซับซ้อน มองเห็นร่องรอยการแกะสลักงดงาม มองลงไปตามหุบเขาอันลาดชัน มองเห็นกองหินทรายเรียงรายเลื่อมสลับ แม้จะเป็นร่องรอยเก่าแก่แต่สามารถสังเกตได้ว่า เป็นร่องรอยการกระทำของมนุษย์ บนผายาวอันเป็นต้นกำเนิดอารายธรรมโบราณ อันเป็นหลักฐานคลี่คลายความสงสัยว่า “หลวงพ่อศิลา” มีต้นกำหนดมาจากสถานที่แห่งนี้
ก่อนมีการก่อสร้างวัดติโลกอาราม หลวงพ่อศิลาเป็นเพียงหินทรายก้อนหนึ่งบนหินผา หลังสิ้นสงครามเจ้ายุทธิษฐิระก่อสร้างวัดป่าแดงบุญนาคและวัดติโลกอาราม หินทรายบนผายาวถูกหักโค่นนำมาก่อสร้างปฏิมากรรม ทั้งเสาอุโบสถ พระประธาน พระพุทธรูป และลูกนิมิตพุทธสีมา หินทรายถูกกลิ้งลงหน้าผายาวสู่ลานสลักหินทางทิศตะวันออก ช่างแกะสลักหินทรายเริ่มลงมือสลักหินเป็นรูปทรง การสลักหินทรายจักเป็นไปอย่างหยาบๆ มิใช่รีบเร่งเพื่อความรวดเร็วแต่ทำไว้เพื่อมิให้หินแตกหัก ด้วยการขนส่งสมัยโบราณถนนหนทางทุรกันดาร หลุมบ่อรายทางอาจทำให้เกิดการกระแทกพระพุทธรูปเสียหาย การสลักหินอย่างหยาบๆ เพื่อขนส่งเป็นแนวคิดอันประณีตของช่างแกะสลักหินทรายในยุคสมัยนั้น
บทความเกี่ยวข้อง