การแกะสลักพระพุทธรูปไม้ถวายพระ เป็นประวัติศาสตร์อันขาดหายจากสังคมพุทธศาสนานานนับร้อยปี เหลือเพียงพระพุทธรูปไม้แกะสลักโบราณถูกจัดวางไว้หลังพระประธานตามโบสต์วิหารในภาคเหนือ ซึ่งยุคสมัยก่อน การแกะสลักพระพุทธรูปไม้ถวายพระได้รับความนิยมเพราะเชื่อว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์คน เคราะห์บ้าน  เคราะห์เมือง ปัจจุบัน พ.ศ.2566 การแกะสลักไม้ถวายพระสูญหายจากประวัติศาสตร์ กระทั่งถูกศึกษาวิจัยและรื้อฟื้นโดยกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยพะเยา  

ผช.ศ.เอกพงษ์  เรือนอุ่น ( Asst Prof.Aekapong Rounoon ) อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ผู้ทำการศึกษาวิจัยพระพุทธรูปไม้แกะสลัก เล่าว่า วัฒนธรรมการการแกะสลักพระพุทธรูปไม้เลือนหายจากสังคมไทยนานนับร้อยปี หายไปในช่วงเดียวกับการจากรึกใบลาน เมื่อวัยเด็ก อายุ 7-8 ขวบ ยังจำควาได้ว่า เคยแอบบเอาเครื่องมือแกะสลักไม้ของพ่อมาแกะลสักพระพุทธรูปไม้ “ผมรู้สึกมีความสุขมาก เมื่อเติบโตเราก็มีความสุขกับการมองดูพระพุทธรูปไม้จำนวนมากวางอยู่หลังพระประธานในโบสต์วิหาร ยุคสมัยก่อนพระไม้แกะสลักมีเยอะมาก ปัจจุบันพระพุทธรูปไม้ผุพังเลือนหายไป”

หลังจากเติบโต ผมศึกษาต่อด้านศิลปะ ปริญญาตรี ศิลปมหาบัณฑิต (ประติมากรรม) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ,ปริญญาโท ศิลปะมหาบัณฑิต (ทัศนศิลป์) มหาวิทยาลัยศิลปากร เรียนรู้วิธีคิดแบบตะวันตก มีข้อดีคือการศึกษาแบบตะวันตกมีเครื่องมือสำหรับการศึกษาหลากหลาย แต่เมื่อนำเครื่องมือแบบตะวันตกมาศึกษาเรื่องวัฒนธรรมกลับเป็นไปได้ยากในความเป็นท้องถิ่น เราต้องเข้าใจว่า เราสามารถทำอะไรได้ดีที่สุด ผมทำงานศิลปกรรมมาตลอดแต่ทำบนพื้นฐานด้วยความรู้สึกไม่มั่นใจ กลัวว่าสิ่งที่เรากำลังทำจะไม่สวยงาม อาจารย์ วิถี พานิชพันธ์ สอนว่า “ถ้าเธอไม่เริ่มเข้าใจว่าเธอมาจากไหน เธอจะทำศิลปะได้อย่างไร เธอจะใช้เครื่องมือของฝรั่งกับอะไร ทุกวันนี้เธอก็ยังไม่รู้ว่า อะไรหลายอย่างมาจากไหน บ้านเรามีอะไร” 

ปัจจุบัน โลกของศิลปะก้าวหน้าไปไกลแล้ว หลายสิ่งหลายอย่างศิลปินสร้างสรรค์แล้วเกือบทุกสิ่ง แต่เรากำลังเดินตามคนตะวันตกแล้วก็ลืมภูมิปัญญาของตนเอง งานแกะสลักพระพระพุทธรูปไม้ด้วยเครื่องมือโบราณสุญหายจากสังคมไทยนับร้อยปี ผมจึงอยากหาหนทางทำให้ภมิปัญญาท้องถิ่นมีคนสืบสาน ปัจจุบัน พระพุทธรูปไม้แกะสลัก อายุ 100-200 ปี ผุพังไปพร้อมกับจารึกใบลาน

ผมกลับสูถิ่นเกิด เรียนรู้เรื่องการแกะสลักพระพุทธรูปไม้ ผมแกะสลักเพื่อศึกษากระบวนการสร้างพระพุทธรูป แกะสลักแบบไหนได้พระพุทธรูปแกะสลักแบบใด สล่าหรือช่างสมัยโบราณมีวิธีการหรือมีวิธีคิดอย่างไร เพื่อหาข้อมูลเชิงลึกผมทำงานร่วมกับอาจารย์นักประวัติศาสตร์ เพราะการศึกษาวัฒนธรรมการแกะสลักพระพุทธรูปไม้จะกล่าวถึงเรื่องศิลปกรรมเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยประวัติศาสตร์ อาศัยนักประวัติศาสตร์ หลายสิ่งต้องอ้างอิงถึงเอกสารหลักฐานจากรึกโบราณ ตามบันทึกจะกล่าวถึง การถวายพระพุทธรูปไม้แกะสลัก วันเวลาหรือเทศกาลที่ทำการถวาย อานิสสงค์ผลบุญของการการถวาย หรือกระทั่งกรรมวิธีการทำ

เครื่องมือการแกะสลักพระพุทธรูปของเมืองน่าน เรียกว่า “มีดเหลา” สล่าสกุลช่างจังหวัดน่านเรียนกระบวนการแกะสลักว่าการ “ควัก” หรือ “จี” เป็นคำกริยาอันบอกลักษณะของการแกะสลักพระพุทธรูปไม้ซึ่งในยุคสมัยโบราณการแกะสลักของสล่าสกุลช่าง จะผ่อนปลนเรื่องสัดส่วนพระพุทธรูป นอกจากพระพุทธรูปที่เจ้านายอุปถัมภ์ซึ่งจะมีการวัดสัดส่วนหรือ “มอก”  พระพุทธรูปที่มีการวัดสัดส่วนและแกะสลักอย่างงดงามมีลักษณะสมส่วนเรียกว่า “พระเจ้ากินอิ่ม” สำหรับลักษณะพระพุทธรูปก็จะมีลักษณะตามมหาปุริสลักขณะ

เป้าหมายของการทำงานของผมไม่ได้สร้างสรรค์เพียงอย่างเดียว เพราะการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัยไม่ใช่งานส่วนตัว มันมีความหมายในเชิงลึกที่เราจะต้องศึกษาและให้ความเคารพ ผมไม่ล่วงเกินทำลายความหมายตรงนั้น แต่ตอนนี้ คนที่จะบอกเล่าเรื่องราวไม่มีอีกแล้ว เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องบอกเล่า ผมศึกษาศิลปะโบราณและทำงานศิลปะร่วมสมัย เรามองเห็นความหมายอะไรในของโบราณ ทำการวิเคราะห์แล้วสร้างงานศิลปะสมัยใหม่