เมื่อกล่าวถึงประวัติศาสตร์ดนตรีไทยสากล โดยเฉพาะดนตรีร็อก เราจะนึกถึงสงครามเวียดนาม ค่าย GI และนักดนตรีคนไทยเล่นดนตรีสไตล์ตะวันตก เช่น กีตาร์คิง แหลม มอริสัน หรือ กีตาร์ปืน กิตติ กาญจนสถิตย์ พวกเขาเป็นนักดนตรียุคบุกเบิก เล่นดนตรีให้ความบันเทิงกับทหารอเมริกัน เป็นแรงบันดาลใจให้กับนักดนตรีรุ่นหลัง เช่นเดียวกันกับ Jimi Hendrix หรือ Yngwie Malmsteen
ยุคสมัยนั้น สไตล์ดนตรีอเมริกันดิบเถื่อน นักดนตรีที่เล่นดนตรีในค่าย GI อยู่กินกับทหารอเมริกัน เล่นดนตรีอเมริกัน ฟังเพลงอเมริกัน แกะเพลงจากตู้เพลงหรือแผ่นเสียง รูปแบบการเล่นกีตาร์และเครื่องดนตรีอื่น ถอดแบบออกมาจากนักดนตรีสหรัฐอเมริกา พัฒนาการมาสู่การแต่งคำร้องภาษาไทยในทำนองเพลงสากล เป็นที่มาของสไตล์ดนตรีที่เรียกว่า “ไทยสากล”
ภายหลังสงครามเวียดนามจบลง นักดนตรีจากค่าย GI ก้าวสู่ความเป็นศิลปิน ทำดนตรี แต่งเพลง ทำผลงานออกอัลบั้ม แต่เนื้อร้องเพลงไทยในทำนองเพลงสากล ถ่ายทอดวัฒนธรรมดนตรีฝั่งตะวันตก เป็นแรงบันดาลใจให้กับนักดนตรีรุ่นหลัง และรากฐานของดนตรีไทยสากลในห้วงเวลาต่อมา เครื่องดนตรีสากล อย่างเช่น กีตาร์ จึงกลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของดนตรีสากล
ในเวลาต่อมา การศึกษาดนตรีของประเทศไทยเริ่มเติบโต นักศึกษาดนตรีจบจากต่างประเทศ เปิดสถาบันการศึกษาสอนดนตรี ความเข้าใจในดนตรีมีเพิ่มมากขึ้น สร้างผลงานดนตรีดีขึ้น ศิลปินประสบความสำเร็จมากขึ้น มีการจัดหมวดหมู่ Category เพิ่มขึ้น ประเด็นสำคัญ
เม็ดเงินในอุตสาหกรรมดนตรีของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเป็นศิลปินนักร้อง นักดนตรี กลายเป็นความฝันอันยิ่งใหญ่ของ หนุ่ม-สาว แต่การก้าวกระโดดของเทคโนโลยีก่อให้เกิดภาวะชะงักงัน (Disruption) จากเท็ปเพลง แผ่นซีดี Mp3 … แต่ในห้วงเวลาเดียวกัน การผลิตดนตรีก็สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีเพียงไม่กี่ชิ้น นักร้องนักดนตรีสร้างผลงานในห้องนอน ห้องน้ำ และสถานที่ซึ่งไม่คิดว่าจะประพันธ์เพลงได้ แต่อะไรคือศิลปะที่แฝงไว้ในบทเพลง?
การประพันธ์ดนตรีหรือบทเพลงเป็นงานศิลปะ ? … คำตอบมิใช่เพียงว่า ดนตรีเป็นงานศิลปะ หรือไม่เป็นงานศิลปะ แต่อยู่ที่จะมองเห็นว่า ผลงานประพันธ์เพลง ประพันธ์ดนตรี ใช้ศิลปะอย่างไร ?
ผู้สัมภาษณ์ใช้เวลานานเพื่อทำบทสัมภาษณ์ศิลปินหลายท่าน การสร้างสื่อใหม่ที่มิมีใครรู้จักเป็นเรื่องยากเหลือเกินในห้วงเวลานั้น ศิลปินหลายท่านเมินเฉยหรือเลือกที่จะปฏิเสธ ทางออกของผู้สัมภาษณ์มีเพียงทางเดียวในการจะเป็นสื่อที่ผู้คนยอมรับ คือการทำบทสัมภาษณ์ที่ดีที่สุด เพื่อนำบทสัมภาษณ์ที่ดีที่สุดส่งต่อและขอสัมภาษณ์ศิลปินท่านต่อไป
บทสัมภาษณ์ที่ดีเกิดจากความพร้อมหลายอย่าง เริ่มจากความพร้อมของศิลปินหรือผู้ให้สัมภาษณ์ซึ่งเป็นบุคคลซึ่งผ่านการคัดสรรมาเป็นอย่างดี มีประสบการณ์ชีวิตดนตรีเรียกว่าตกผลึกทางความคิด สามารถกลั่นกรองประสบการณ์บอกเล่าเป็นเรื่องราวชีวิต ศิลปินแต่ละท่าน มีวิถีความสำเร็จแห่งตน
สำหรับผม ผู้สัมภาษณ์ พยายามทำบทสัมภาษณ์ให้ดีที่สุด ทำให้ดีกว่าเดิม พยายามแก้ปัญหาบางประการ เพื่อให้เกิดการสัมภาษณ์ที่ดีและนำบทสัมภาษณ์มาถอดความเป็นภาษาอักษรโดยเขียนในระบบการแปลเพื่อให้บทความนั้นสามารถแปลความได้หลายภาษา บทสัมภาษณ์สามารถ อ่าน- แปล เป็นภาษาไทยและต่างประเทศ สามารถรับฟังเสียงเพื่อให้ AI เป็นผู้อ่าน สามารถรับชมคลิ๊ปวีดีโอหรือบทความอื่นผ่านลิ้งค์
ผลงานทุกชิ้นเป็นบทสัมภาษณ์ศิลปินที่ดีที่สุด ศิลปินทุกท่านถูกคัดสรรค์ว่าเป็นศิลปินของจริงในวงการดนตรี พวกเขาเต็มไปด้วยวิธีคิด ประสบการณ์ และแรงบันดาลใจ
บทความที่เกี่ยวข้อง
STORY OF MUSIC : ปราชญ์ อรุณรังษี ในท่วงทำนองดนตรีแห่งชีวิต | phayaobiz
STORY OF MUSIC : วลีดนตรีไทยในเสียงกีตาร์ “หนูมิเตอร์” | phayaobiz
STORY OF MUSIC : เอก แบล็กเฮด เสียงแห่งอารมณ์ดนตรีที่ต่อเนื่องในระบบ Analog | phayaobiz
STORY OF MUSIC : เสียงกีตาร์จากความรู้สึกอันฉับพลันของ เชา-ชวรัตน์ หรรษคุณาฒัย | phayaobiz
STORY OF MUSIC : Gibson SG และจังหวะชีวิตดนตรีของ คชภัค ผลธนโชติ | phayaobiz
STORY OF MUSIC : Ibanez กีตาร์ในความทรงจำของ วรวิทย์ เจริญพลนภาชัย | phayaobiz
STORY OF MUSIC : จุลโหฬาร กับเพลงพื้นถิ่นอีสานสไตล์ Rock and roll | phayaobiz