ช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของผู้บริโภค พวกเขารักสุขภาพมากขึ้น การเลือกกิน ส่งผลต่อกระบวนการผลิต การเพาะปลูกของเกษตรกรจึงต้องลดการใช้สารเคมีในการเกษตร เกษตรกรจำนวนมากเลือกวิธีการทำเกษตรอินทรีย์ โดยมีองค์กรสนับสนุนหลายหน่วยงาน เช่น มหาวิทยาลัยพะเยา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข สมาพันธ์เกษตรยั่งยืนพะเยา หรือ SDGsPGS
การเปลี่ยนแปลงแนวคิดของคนทำการเกษตร จากเกษตรกรรมซึ่งใช้สารเคมีเป็นหลัก ถูกแทนที่ด้วยแนวคิดเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย การรณรงค์ให้ความรู้และสนับนุนกษตรกรในการทำงานวิจัย ส่งผลต่อปัญญาความรู้ของเกษตรกร นอกจากนั้น ตรารับรอง SDGsPGS เป็นส่วนเติมเต็มการพัฒนาเกษตรเพราะเป็นการลดต้นทุนการทำเกษตรอินทรีย์ด้านการขอตรารับรองเกษตรอินทรีย์ ทำให้เกษตรกรมองเห็นช่องทางการทำการตลาด มองเห็นกลุ่มลูกค้ารักสุขภาพซึ่งนับวันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
นั่นส่งผลให้ผืนดินของจังหวัดพะเยา ประเทศไทย เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีการเกษตร เราสามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงได้เมื่ออยู่บนท้องฟ้าและมองลงไปที่ผืนดิน พิกัด (ละติจูด ลองจิจูด) แสดงที่ตั้งของฟาร์มเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น (location) จากแปลงเกษตรอินทรีย์ที่มีเพียง 2 แปลง เติบโตเป็นสวนผักผลไม้ มีจำนวนมากกว่า 100 แปลง ส่วนเกษตรกรบางคน แม้จะยังไม่พร้อมเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ แต่ก็เลือกที่จะทำการเกษตรปลอดภัย
นั่นเป็นเพราะแนวคิดการบริโภคเปลี่ยนแปลง ผู้คนเลือกซื้อสินค้าที่ดีต่อสุขมากขึ้น หากลองชมสินค้าตามพื้นที่จำหน่ายทั่วไปหรือห้างสรรพสินค้าชั้นนำ เราจะพบเห็นพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษวางจำหน่าย ทั้งที่เมื่อก่อนไม่เคยมีสินค้าอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัยวางจำหน่ายเลย สิ่งที่เกิดขึ้นคือการเปลี่ยนแปลงระบบเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมไปสู่ระบบเกษตรอินทรีย์สมัยใหม่ เกษตรกรเริ่มต้นเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ในแปลงเล็กๆ ขยายขนาดกลายเป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์ขนาดใหญ่ ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมซึ่งหลายคนคาดมิถึง โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดพะเยา ประเทศไทย พื้นที่ต้นน้ำสำคัญซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกผักผลไม้ที่เคยใช้สารเคมีในการทำการเกษตร ปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงสู่ระบบเกษตรอินทรีย์
Phayaobiz.com .ใช้เวลานานกว่า 4 ปี ติดตามความเปลี่ยนแปลง เราสัมภาษณ์ บุคคลสำคัญที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทำให้จังหวัดพะเยาเข้าสู่ภาวะที่ดีต่อการพัฒนา เราสัมภาษณ์เกษตรกรซึ่งหันมาทำเกษตรอินทรีย์ และเราพบว่า การทำเกษตรอินทรีย์ส่งผลดีต่อระบบนิเวศน์ต้นน้ำของจังหวัดพะเยาอย่างคิดมิถึง
บทความที่เกี่ยวข้อง
เศรษฐศาสตร์บนดอยสูง “แคะเว่น ศรีสมบัติ” | phayaobiz
ทุ่งลอแห่งความทรงจำ : EP1. วัยเยาว์ของอาจารย์สอนเกษตรไทย แก้ว จันทิมา เมื่อพ.ศ.2492 | phayaobiz
ยอดชัย มะโนใจ กับลิ้นจี่ปลอดสารพิษของประเทศไทย | phayaobiz
ชวฤทธิ์ งามจิตร์ เกษตรอินทรีย์ในร่มเงาผืนป่าดอยหลวง | phayaobiz
Management : รัตน์มนูญ บุญธรรม บริหารธุรกิจครอบครัวเห็ด | phayaobiz
Tops Plaza Phayao : เปิดพื้นที่สินค้าเกษตรอินทรีย์รุกพะเยา | phayaobiz
พญ.พยงค์ แจ่มเพ็ญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จังหวัดพะเยา | phayaobiz
ยุทธภมิ นันตาแสง กับเรื่องเล่าบนจานอาหารในร้าน U&Steak | phayaobiz