The Inspiration
เกื้อพงษ์ ชัยดรุณ : เงี้ยวในชุมชนบ้านแม่ต๋ำเมืองพะเยา
พวกเงี้ยวหรือไทใหญ่ เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในรัฐฉาน ประเทศพม่าได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยในเมืองพะเยานานแล้วแต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มเข้ามาอยู่อาศัยเมื่อใด อย่างไรก็ตามจากภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดหลวงราชสัณฐานในเมืองพะเยาซึ่งสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2410 ได้ปรากฏภาพของพวกเงี้ยวเป็นหลักฐาน ทำให้สันนิษฐานว่า...
เกื้อพงษ์ ชัยดรุณ : พิกัดที่ตั้งวัดโบราณ พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ฝ่ายนิกายสวนดอก
กลุ่มวัดโบราณของพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ฝ่ายนิกายสวนดอก หรือคามวาสีในเวียงพยาว (เวียงน้ำเต้า) ที่ค้นพบจำนวน 18 วัด จากจำนวนวัดที่มีอยู่ในเวียงทั้งหมด...
เกื้อพงษ์ ชัยดรุณ : ค้นพบเศียรพระพุทธรูปหินทราย ศิลปะสกุลช่างพะเยา
เศียรพระพุทธรูปหินทราย ศิลปะสกุลช่างพะเยาที่ได้รับอิทธิพลศิลปะสุโขทัย ขุดพบได้ที่วัดมหาพนในเมืองพะเยา พร้อมกับโบราณวัตถุมีค่าจำนวนหลายรายการซึ่งพบอยู่ภายในกรุใต้ฐานชุกชี เมื่อครั้งหน่วยศิลปากรที่ 4 จังหวัดเชียงใหม่...
เกื้อพงษ์ ชัยดรุณ : หลวงพ่อศิลาวัดติโลกอาราม กลางกว๊านพะเยา
เป็นพระพุทธรูปเนื้อหินทราย(รูปที่ 1,2) ปางมารวิชัยนั่งขัดสมาธิราบ ขนาดใหญ่มีหน้าตักกว้าง 110 ซม. สูง...
เกื้อพงษ์ ชัยดรุณ : เงี้ยวปล้นเมืองพะเยาเมื่อ พ.ศ.2445
เหตุการณ์ต่อเนื่องหลังจากพวกเงี้ยวก่อการจลาจลปล้นเมืองแพร่จนสามารถยึดเมืองได้สำเร็จเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2445 ถัดจากนั้นไม่นานก็ได้บุกเข้าปล้นเมืองลำปางในเดือนสิงหาคม แต่กระทำการไม่สำเร็จ เพราะถูกฝ่ายเจ้าหน้าที่บ้านเมืองต่อต้านอย่างแข็งขันสามารถรักษาเมืองไว้ได้ ทำให้พวกเงี้ยวเบนเป้าหมายวางแผนเข้าปล้นเมืองงาวและพะเยาในเวลาต่อมา
เหตุการณ์พวกเงี้ยวเข้าปล้นเมืองพะเยา...
INSPIRATION
MUSIC
ARTBRIDGE
Thailand Biennale
Culture
กว๊านพะเยา : เมืองโบราณที่จมอยู่ใต้น้ำ
“กว๊านพะเยา” คือชื่อภาษท้องาถิ่นภาคเหนือของประเทศไทย หมายถึง “แหล่งน้ำ” หรือ “บึง” ตั้งอยู่ที่จังหวัดพะเยา ประเทศไทย ลักษณะเป็นแหล่งน้ำ เดิมทีบริเวณแหล่งน้ำแห่งนี้คือเมืองโบราณมีผู้คนอาศํย แต่เกิดอุทกภัย เมืองที่เคยเป็นชุมชนมีผู้อยู่อาศัย มีวัดวาอารม จมอยู่ใต้ผืนน้ำ ต่อมาในปี พ.ศ.2482 มีการสร้างประตูกั้นน้ำ เรื่องราวประวัติศาสตร์และหลักฐานทางโบราณคดีจึงถูกลืมเลือน
ย้อนเวลากลับไปหลายร้อยปี ใต้ผืนน้ำ “กว๊านพะเยา” คือชุมเมืองมีผู้อาศัยเรียกว่า เมือง ผายาว, พญาว...
NON-FICTION
ติโลกอาราม : มหาวิหารแห่งสายน้ำ
“สายลมพัดผืนน้ำเป็นระลอกคลื่น สายลมใต้กระทบผิวกายให้รู้สึกสบาย แสงตะวันรอนกำลังจะลับขุนเขาสาดกระทบผืนน้ำระยิบระยับ ผู้เฒ่าพายเรือแหวกเป็นคลื่นดั่งรอยเส้นพู่กันสีน้ำ หัวเรือพายมุ่งหน้าสู่นัยดวงตาแห่งธรรม” ติโลกอาราม : มหาวิหารแห่งสายน้ำ สารคดีรางวัลเรื่องเล่าประทับใจ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เรื่อง ทรงวุฒิ จันธิมา (กระจอกชัย)
“ติโลกอาราม"...
Culture
พระยายุทธิษฐิระ : ผู้สร้างวัดติโลกอาราม
พระยายุทธิษฐิระ คือ เจ้าเเมืองพะเยา สืบเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงเจ้าเมืองสุโขทัย พระเจ้าติโลกราชเกลี้ยกล่อมพระยายุทธิษฐิระเป็นบุตรบุญธรรมและช่วยทำศึกสงคราม เมื่อสงครามเสร็จสิ้น พระเจ้าติโลกราชให้พระยายุทธิษฐิระปกครองเมืองพะเยา (พ.ศ.2011-2022) พระยายุทธิษฐิระศรัทธาพุทธศาสนา ส่งเสริมภิกษุให้ศึกษาธรรมตามแนวทางมหายาน ทรงสร้างวัดป่าแดงบุญนาคและสร้างวัดติโลกอาราม
ย้อนเวลากลับไปหลายร้อยปี ใต้ผืนน้ำ “กว๊านพะเยา” คือชุมเมืองมีผู้อาศัยเรียกว่า พยาว หรือ ภูกามยาว อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา (เชียงใหม่) ซึ่งในยามนั้น อาณาจักรล้านนาปกครองโดยพระเจ้าติโลกราช ทำศึกกับกรุงศรีอยุธยาซึ่งปกครองโดยพระบรมไตรโลกนาถ
สมัยก่อนบ้านเมืองปกครองแยกขาด สุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงเรืองอำนาจ ปกครองแว่นแคว้นหัวเมืองน้อยใหญ่อาณาเขตกว้างไกลถึงล้านนา...
NON-FICTION
การรื้อฟื้นประวัติศาสตร์การแกะสลักพระพุทธรูปไม้ที่สูญหายนาน 100 ปี
การแกะสลักพระพุทธรูปไม้ถวายพระ เป็นประวัติศาสตร์อันขาดหายจากสังคมพุทธศาสนานานนับร้อยปี เหลือเพียงพระพุทธรูปไม้แกะสลักโบราณถูกจัดวางไว้หลังพระประธานตามโบสต์วิหารในภาคเหนือ ซึ่งยุคสมัยก่อน การแกะสลักพระพุทธรูปไม้ถวายพระได้รับความนิยมเพราะเชื่อว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์คน เคราะห์บ้าน เคราะห์เมือง ปัจจุบัน พ.ศ.2566 การแกะสลักไม้ถวายพระสูญหายจากประวัติศาสตร์ กระทั่งถูกศึกษาวิจัยและรื้อฟื้นโดยกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยพะเยา
Culture
ภาพถ่ายที่ถูกเผยแพร่มากที่สุดของจังหวัดพะเยา
“ติโลกอาราม” ผลงานภาพถ่ายของ “เกรียงศักดิ์ ขวัญสง่า” เมื่อปี พ.ศ. 2553 ไม่มีเทคนิคการถ่ายภาพอันซับซ้อนเพียงแต่ปรับค่า ISO ให้มองเห็นภูมิทัศน์ในยามเย็นลายเส้นวัตถุชัดเจนภาพชัดเจน ภาพถ่าย “ติโลกอาราม” เป็นภาพถ่ายธรรมดาแต่พบว่า ภาพถ่ายถูกดาวน์โหลดและนำไปเผยแพร่มากที่สุดในบรรดาภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศไทย
จังหวัดพะเยามีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งซึ่งได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว ภาพถ่ายจำนวนมากของจังหวัดพะเยา ถูกนำมาใช้ประชาสัมพันธ์ในเชิงธุรกิจเพื่อเรียกร้องความสนใจจากนักท่องเที่ยว ภาพถ่ายกิจกรรมเวียนเทียนกลางน้ำวัดติโลกอารามซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย ได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วโลกเพราะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ มีกิจกรรมเวียนเทียนกลางน้ำซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีแห่งเดียวในโลก
ช่างภาพ “เกรียงศักดิ์ ขวัญสง่า” นอกจากเป็นผู้จัดการโรงพิมพ์...
ตู้ปลาของแว่นตา : อุเทน มหามิตร
"เลนส์ของเวลาเปลี่ยนความสั้น-ยาว จากจุดขึ้นรูปความคมชัดของชีวิต แต่ละช่วงวัยซึมซับบทเรียน ดื่มด่ำประสบการณ์ ถอดความภาพสะท้อน ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตในภาวะโลกร่วน รวมทั้งพึ่งเลนส์กรองแสงสีฟ้าเลนส์ ในกรอบความคิด เจาะจงด้วยดีไซน์มุมมอง สี ขนาด รูปทรง สัมผัส ทำให้ได้เลือกกรอบใหม่ๆ นำสมัยหรือแนววินเทจ หรือเลือกกรอบเดิม (อันใหม่) เลือกที่คิดว่าใช่หรือเอาที่สบายใจ หรือเลือกจะเข้ากับรูปการณ์ขอแค่ให้อยู่รอด…"
Emotion Mod
ขอบคุณความรักบนโลกใบนี้
โลกนี้มีสรรพสิ่งนานา มีความงามและความไม่งาม มีความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจ มีความสว่างและความมืด
เช่นเดียวกับใจของคน มีทั้งความสุขและความทุกข์นานา เมื่อฉันปรารถนาให้ตัวเองมีความสุข ฉันจึงหวนคิดพิจารณาว่าควรทำอย่างไร ยามที่ฉันมีความสุขคือตอนไหน ตอนที่รู้สึกใจดีกับผู้อื่นทำให้ฉันมีความสุข หรือเพราะฉันมีความสุขจึงใจดีกับผู้อื่น
Life Design : ศุภชัย ปัญญา แรงบันดาลใจจากลูกสาวกับเรื่องราวบทเพลง “ผีบ้า”
"ผีบ้า พระคงฤาษี" คือศิลปินนักร้อง นักแต่งเพลง นอกกระแส แม้เขาจะมีผลงานเพลงเพียง 5 บทเพลง แต่กลับได้รับความสนใจจากนักฟังเพลงชาวต่างชาติจำนวนมาก อาจเพราะความแตกต่างทางดนตรี ภาษาที่ใช้ในการร้อง รวมถึงวิธีการขับร้องที่มีความแปลก ในช่วงที่ผ่านมา "ผีบ้า พระคงฤาษี" จึงเป็นศิลปินท้องถิ่นที่ถูกจับตามองมากที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ ศุภชัย ปัญญา ศิลปินที่ใช้ชื่อว่า ผีบ้า พระคงฤาษี เล่าว่า บทเพลงส่วนใหญ่ถูกแต่งขึ้นในช่วงที่เขาต้องดูแลลูก เขาเขียนเพลงในยามที่ลูกสาวนอนหลับ...
ธนัชโชติ หลวงติ๊บ ชีวิตและภาพถ่ายในต่างแดน
“ช่างภาพ” เป็นความฝัน หนุ่ม-สาว หลายคนอยากเป็นช่างภาพมืออาชีพ “ธนัชโชติ หลวงติ๊บ” เป็นอีกคนที่มีความฝันอยากเป็นช่างภาพระดับสากล 17 ปีกับอาชีพช่างภาพในประเทศไทย 8 ปีกับการทำงานเป็นช่างภาพต่างประเทศ การันตีความสามารถของเขาได้ระดับหนึ่ง
ปัจจุบัน ธนัชโชติ หลวงติ๊บ ทำงานกับ Pixel studio บริษัทสัญชาติสหรัฐอเมริกา ทำธุรกิจจำหน่ายภาพถ่ายให้กับนักท่องเที่ยวบนเรือสำราญ เขตน่านน้ำประเทศจาไมก้า คิวบา โคลัมเบีย และปานามา
เรามีโอกาสสนทนาอย่างเป็นกันเองในช่วงลาพักร้อนของธนัชโชติ หลวงติ๊บ ประเด็นอันน่าสนใจในเนื้อหาบทสนทนา มิใช่รายระเอียดทางเทคนิคด้านการถ่ายภาพ แต่เป็นรูปแบบการทำงานของบริษัทรับถ่ายภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา การปรับตัวทางธุรกิจโดยใช้ดิจิตอลเทคโนโลยีเพิ่มรายได้ของเขาให้มากขึ้น
“ผมทำงานกับบริษัทของสหรัฐอเมริกาช่วงการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีของบริษัท พวกเขามีนโยบายเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิตอลมานาน แต่ทีมงานของผมเพิ่งมีการปรับเปลี่ยน เดิมทีเราถ่ายภาพแล้วพิมพ์เก็บไว้ในแกลเลอรี นักท่องเที่ยวที่สนใจก็จะมาซื้อภาพในแกลเลอรี ราคาภาพถ่ายแต่ละใบค่อนข้างแพง แต่นักท่องเที่ยวบนเรือสำราญก็ซื้อภาพถ่ายของพวกเราจำนวนมาก”
ธนัชโชติ...